Page 188 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 188

4. โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้



                      ความเป็นมาของโครงการ

                      ภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ มีอุตสาหกรรมหลักที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนา
               ประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนา
               และเติบโตสูง แต่ยังขาดกลไกสนับสนุนและส่งเสริม ดังนั้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กระทรวง
               วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินงานโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ต่อมากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้มอบหมายให้
               สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดตั้งและบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์

               ประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ขึ้นภายใต้ความร่วมมือ
               ของสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ในภาคใต โดยมีกรอบแนวคิดในการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร ์
                                                                 ้
               ภาคใต้ในรูปแบบของเครือข่าย ซึ่งจะมีจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลาง ทำหน้าที่เชื่อมโยง ประสานงานกับเครือข่ายอุทยาน

               วิทยาศาสตร์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี และภูเก็ต ซึ่งจะมีลักษณะจำเพาะตามความต้องการ
               และศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ


                      วัตถุประสงค์ของโครงการ
                      ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์และภารกิจที่กำหนด เห็นควรกำหนดเป้าประสงค์ในการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์

               ภาคใต้เมื่ออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ดำเนินการเต็มรูปแบบแล้ว ดังนี้

     182              1.  เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ กลไก มาตรการจูงใจและองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถ
               สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ยุทธศาสตร์ของภูมิภาค ยกระดับเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรม และส่งเสริมวัฒนธรรม

               วิจัยในภาคเอกชนในภาคใต้
                      2.  เพื่อพัฒนาและเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการและธุรกิจเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ / สินค้าและ
       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
               บริการ บนพื้นฐานของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่ โดยอาศัยกลไกการบ่มเพาะธุรกิจ
                      3.  เพื่อเป็นแหล่งรองรับ / ส่งเสริมการพัฒนา / สร้างความร่วมมือด้านกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
               ในภาคใต้ ที่สามารถลดช่องว่างระหว่างการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษา และการวิจัย

               และพัฒนาในภาค อุตสาหกรรม
                      4.  เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ
               ที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยเพื่อพัฒนา ยกระดับและถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ใน

               ภาคใต้ในระยะยาว
                      5.  เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายที่สามารถสนับสนุนการจัดตั้ง และการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะ
               ธุรกิจเทคโนโลยี ตลอดจนอุทยานวิทยาศาสตร์ในระดับจังหวัด / กลุ่มจังหวัดของภาคใต้ที่มีความพร้อม / ความจำเป็นเชิง
               นโยบายในระยะต่อไป
                      6.  เพื่อสร้างและพัฒนากลไกสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

               และสังคมของภาคใต้ ให้พร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ในระยะยาว


                      ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

                      1.  จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าความคืบหน้าในช่วงต้นของการดำเนินงานยังไม่เป็นไปตามแผนเท่าที่ควร
               ซึ่งสาเหตุหลักมาจากหน่วยงานเครือข่าย สวทช. และท้องถิ่นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคตั้งอยู่หรือทำงานร่วมอยู่ยังขาด
               ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการอุทยานฯ ดังนั้น ในระยะแรกจึงเป็นช่วงที่ทุกหน่วยงานยังต้องการการเรียนรู้
               ส่งผลให้การดำเนินงานในช่วงต้นค่อนข้างล่าช้า แต่เมื่อเกิดความเข้าใจตรงกันแล้ว ทำให้การพัฒนางานด้านนี้มีความก้าวหน้า
               มากขึ้น
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193