Page 18 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 18

3.2 ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)



                      เป็นทุนสร้างทีมงานวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีความสามารถ มีจริยธรรม มีผลงานเป็นที่
               ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศ

               โดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ
               ผู้รับทุนต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับคณบดีขึ้นไป โดยผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ “เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” (TRF Senior Research
               Scholar)
                      ผู้ได้รับทุนจะได้เงินงบประมาณรวมไม่เกิน 7.5 ล้านบาท (2.5 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
               และ 6 ล้านบาท (2 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

                      ในปีงบประมาณ 2552 มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)
               จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
                      1. รศ.ดวงมน จิตร์จำนงค์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โครงการวิจัยเรื่อง “สถานะ

               และบทบาทของการวิจารณ์ในการศึกษาวรรณคดีไทย” งบประมาณ 4,500,000 บาท
                        โครงการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะและบทบาทของวิชาวรรณคดีวิจารณ์ในการศึกษาวรรณคดี
               ไทย โดยเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาของไทย เพื่อค้นหาแนวทางที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในด้านนี้ และค้นหาแนวทางการปรับใช้
               ในทางปฏิบัติ โดยพยายามแก้ไขปัญหาในการศึกษาวิจัยที่เป็นอยู่ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาวิจัยวรรณคดีไทย
                      2. ศ.ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ โครงการวิจัย เรื่อง “สารต้านแบคทีเรีย


      12       ต้านเชื้อรา และต้านอนุมูลอิสระจากเชื้อรา และพืชที่คัดเลือก” งบประมาณ 7,488,680 บาท
                        โครงการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาสารบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา และต้านอนุมูลอิสระ
               จากเชื้อราเอนโดไฟท์ ที่แยกได้จากหญ้าทะเลและพืชบางชนิด ตลอดจนจำแนกชนิดและหาโครงสร้างขององค์ประกอบทางเคมี

               ที่สนใจเพื่อไปใช้ประโยชน์ต่อไป
       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
                      3. ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร โครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุง
               คุณภาพผลิตภัณฑ์ประมงและการใช้ประโยชน์สูงสุดของผลพลอยได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำ” งบประมาณ 7,490,000 บาท
                        โครงการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ประมงและใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้
               จากการแปรรูปอาหารทะเลให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยให้กับนักวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์

               อาหารทะเล และผลิตผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ


               3.3 ทุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย

                   (Thailand Center of Excellence for Life Sciences, TCELS)


                      รศ.ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศ
               ด้านชีววิทยาศาสตร์ ประเทศไทย เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย “โครงการผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาว โดยสารออกฤทธิ์ชีวภาพจาก

               ซีรั่มน้ำยางพารา : กระบวนการผลิตก่อนระดับโรงงาน” และ “โครงการผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาว โดยสารออกฤทธิ์ชีวภาพจาก
               ซีรั่มน้ำยางพารา : กระบวนการผลิตระดับโรงงานขนาดเล็ก” วงเงินงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน รวมทั้งสิ้นจำนวน
               11,400,000 บาท

                      โครงการวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการเตรียมสารออกฤทธิ์เพื่อทำให้ผิวหน้าขาวใสและ
               นุ่มเนียนจากน้ำยางพารา โดยให้ได้มาตรฐาน GMP ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
               ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ระดับคลินิก พร้อมทั้งนำสารออกฤทธิ์ที่ผลิตได้ไปผลิตในรูปผลิตภัณฑ์ครีม
               ทาผิวเพื่อความขาวกระจ่างใสและนุ่มเนียนของผิวในเชิงพาณิชย์ต่อไป
                      โครงการนี้เป็นโครงการที่มีศักยภาพสูงในการนำไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาว โดยใช้วัตถุดิบ

               ที่หาง่ายภาย ในประเทศ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำยางพาราโดยอาศัยองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23