Page 172 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 172

ผลสัมฤทธิ์ (Result Base) ของหน่วย UBI มีเป้าประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนา

               ขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน ทั้งนี้ สกอ. กำหนดแผนที่นำทาง (UBI Roadmap) การ
               ดำเนินงานของหน่วย UBI ออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
                      ขั้นที่ 1 : ขั้นตอนดำเนินการจัดตั้งหน่วย UBI ให้มีโครงสร้างองค์การ และระบบบริหารจัดการ (Organization

               & Management System) ในสถาบันอุดมศึกษา หรือหากมีโครงสร้างเดิมอยู่แล้ว ก็เป็นการปรับรูปโฉม (Image) ให้มี
               ลักษณะเด่นขึ้นมา โดยหน่วย UBI มีภารกิจสร้างแรงบันดาลใจ ความตระหนัก และบรรยากาศสู่ความเป็นผู้ประกอบการใหม่
               (Entrepreneurs) ให้แก่นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และสร้างระบบการบ่มเพาะธุรกิจให้เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้ง
               ดำเนินการพัฒนาการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประกอบการ การประกวดแผนธุรกิจ-นวัตกรรม และการคัดเลือก-พัฒนาผู้เข้ารับ
               การบ่มเพาะ (Incubatees) ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ (Entrepreneurs)

                      ขั้นที่ 2 :  หน่วย UBI ที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะดำเนินการบ่มเพาะบริษัทจัดตั้งใหม่ (Start up
               Companies) โดยพยายามเสริมสร้าง/เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ ผลงาน Research & Development ในสถาบันอุดมศึกษา
               กับบริษัทบ่มเพาะ รวมทั้งสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือจัดหาแหล่งทุนภายนอก (Venture Capital & Angle Fund &

               Investor)
                      ขั้นที่ 3 :  หน่วย UBI มีศักยภาพที่จะผลักดันบริษัทที่รับการบ่มเพาะให้สามารถดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง (Spin off
               Companies) และบริษัทฯ สามารถจัดสรรรายได้/ผันทรัพยากร กลับมาสนับสนุนหน่วย UBI ให้ดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะ
               Start up Companies ใหม่ได้ ทำให้เกิดวงจรของการบ่มเพาะธุรกิจที่สมบูรณ์ ในขั้นนี้ถือว่าหน่วย UBI มีเสถียรภาพในการ
               ดำเนินงานแล้ว


     166              ดังนั้น หน่วย UBI ที่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ จึงจำเป็นต้องมีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ (เช่น ระบบกลาง
               ด้านเลขานุการ ห้องประชุม ระบบสื่อสารและอินเตอร์เน็ต รวมถึงการเข้าถึงแหล่งความรู้ในห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ และ
               เครื่องมือ) ความพร้อมด้านการบริการให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจ (เช่น การจัดตั้งบริษัท การทำแผนธุรกิจ การทำข้อเสนอโครงการ

               เพื่อขอเงินกู้ แหล่งเงินทุน / การทำบัญชี / การจัดการภาษี / การตลาด / โฆษณา / การประกัน / บริหารความเสี่ยง
       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
               รวมถึงข้อกำหนดด้านกฎหมาย) ความพร้อมด้านเทคโนโลยี - Experty (เช่น ที่ปรึกษา นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย
               นักศึกษา ศิษย์เก่า) และประการสำคัญคือ ความพร้อมด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารหน่วย UBI ทุกระดับ
                      ในช่วงปีงบประมาณ 2551-2552 สกอ. ได้มีการปรับแนวทางการสนับสนุนโดยให้หน่วย UBI ดำเนินการในระบบ
               กับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาในพื้นที่ภูมิภาค 9 เครือข่าย

                      เครือข่าย UBI ภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งมีสถาบันการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากสกอ. ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548-2551
               จำนวน 5 สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา มหาวิทยาลัย
               ราชภัฎสงขลา และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีสถาบันการศึกษาที่ได้รับการจัดตั้งและดำเนินงานด้านการบ่มเพาะจากหน่วยงาน

               อื่น 1 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ส่วนสถาบันอื่นๆ ในพื้นที่เครือข่ายภาคใต้ตอนล่างจะมีส่วนร่วม
               ในการบูรณาการทรัพยากรในการบ่มเพาะร่วมกัน มีความพร้อมที่จะดำเนินงานด้านการบ่มเพาะตามแนวทางที่ สกอ. กำหนด
               จึงเสนอข้อเสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุนตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนด ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2552 จะมีสถาบันที่มีสิทธิ์
               เสนอข้อเสนอโครงการผ่านเครือข่ายภาคใต้ตอนล่างจำนวน 2 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัย
               ราชภัฎยะลา



                      วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
                      1.  เพื่อสนับสนุนและร่วมกันดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจ และเสริมสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง (Start up

               Companies & Spin off Companies)
                      2.  เพื่อเสริมสร้างกลไก (Mechanism) ระบบการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา
               (Intellectual Property) จากองค์ความรู้ทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษามาเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนา
               สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างผู้ประกอบการใหม่
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177