Page 171 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 171

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

                        โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ มุ่งสร้างความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่าง
                สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายและภาคเอกชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่ม
                ให้กับทรัพยากรในพื้นที่



                        วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
                        1.  สร้างสรรค์งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่สอดคล้อง
                กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
                        2.  เพื่อเป็นช่องทางพัฒนางานวิจัยที่มีมาตรฐานสูง สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งนำมา

                ต่อยอดและขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
                        3.  ส่งเสริมอาจารย์และนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนา
                        4.  พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม

                        5.  ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะเพื่อตอบสนองความต้องการ
                ต่อภาคอุตสาหกรรม


                        กลยุทธ์และมาตรการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์
                        1.  จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างนักวิจัยและภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาโครงการวิจัยโดยให้ภาคเอกชน

                เป็นผู้กำหนดโจทย์วิจัย                                                                             165
                        2.  กำหนดให้แต่ละโครงการมีนักวิจัยจาก 2 สถาบันการศึกษาขึ้นไป เพื่อให้มีการวิจัยในลักษณะเครือข่าย ที่มีการ
                ใช้ทรัพยากรร่วมกันและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุกๆ สถาบันการศึกษาในเครือข่าย

                        3.  ตกลงเงื่อนไขในสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญาก่อนเริ่มทำวิจัยและมีการเซ็นสัญญาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                คือ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และ สกอ.
                        4.  ติดตามความก้าวหน้าเพื่อให้คำแนะนำในระหว่างการดำเนินการวิจัย
                        5.  ประเมินผลการวิจัย โดยให้ภาคเอกชนที่สนับสนุนทุนวิจัยมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
                        6.  จัดการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมให้แก่ผู้ใช้ประโยชน์



                3. โครงการสนับสนุนหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา                                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย


                        หลักการและเหตุผล
                        ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubator Center) ถือเป็นแหล่งเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีกับความเชี่ยวชาญ

                ทางธุรกิจที่หลากหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน โดยการใช้พื้นที่และเวลาร่วมกันในการทำงาน (Shared Actions in Space
                and Time) เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการจัดตั้งบริษัทใหม่ ควบคู่กับการสนับสนุนในด้านปัจจัยเชิงธุรกิจต่างๆ ที่สามารถเร่ง
                อัตราเร็วของการจริญเติบโตของบริษัทจนพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง
                        สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้เริ่มโครงการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา

                (University Business Incubator : UBI) ช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ให้หน่วย UBI ที่จัดตั้งขึ้นทำหน้าที่
                บ่มเพาะธุรกิจให้เกิด “บริษัทจัดตั้งใหม่” (Start up Companies) และ “ผู้ประกอบการใหม่” (Entrepreneurs) ที่จะถูกฟูมฟัก
                ให้เติบโต ทั้งด้าน Business Plan และ Technology Development of Product โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากสภาพแวดล้อม
                ทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ให้ประกอบธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง และสามารถพัฒนาออกไปเป็นบริษัทเต็มรูปในอนาคต

                (Spin off Companies) รวมทั้งเป็นช่องทางการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่สร้างสรรค์โดยคณาจารย์ใน
                สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสู่กระบวนการใช้งานเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ ผลประโยชน์กลับสู่สถาบันอุดมศึกษาและประเทศ
                ในระยะยาว
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176