Page 170 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 170
- อาหารพื้นบ้าน/อาหารแปรรูปพื้นบ้าน
- สมุนไพร
- หัตถกรรมพื้นบ้าน
- ประมงพื้นบ้าน/การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
- อื่นๆ
ประเด็นที่ 2 การพัฒนาคุณภาพระดับฝีมือแรงงาน
ประเด็นที่ 3 การเสริมสร้างการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานที่เน้นเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ
ประเด็นที่ 4 การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง (รวมถึงการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้)
และคัดเลือกโครงการวิจัยที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเครือข่ายการวิจัย (C)
สรุป Theme การวิจัยและข้อเสนอโครงการ (Concept Paper) นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารของเครือข่ายเพื่อการ
พัฒนาอุดมศึกษา (B) เพื่อพิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบโครงการ แล้วจึงนำเสนอคณะอนุกรรมการอำนวยการฯ ของ
สกอ. (เครือข่ายA) ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนแต่ละเครือข่ายฯ โดย สกอ. กำหนดให้
เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (B) สรุปสาระสำคัญข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน
ฐานรากจากเครือข่ายการวิจัย (C)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
164
เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม เพิ่มโอกาสทางอาชีพและ
เพิ่มรายได้ พัฒนาสังคมสู่ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษามีกลไกเสริมสร้างสมรรถนะ
นักวิจัยรุ่นใหม่พัฒนาความเข้มแข็งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
2. โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์
หลักการและเหตุผล
ภาคใต้ของประเทศไทยถูกขนาบด้วยชายฝั่งทะเล 2 ด้าน มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพยากรบน
พื้นดินและทรัพยากรทางทะเล เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล อาหารทะเล ปศุสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่
สวยงามเหมาะสมแก่การท่องเที่ยว ทรัพยากรเหล่านี้ถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปวัตถุดิบ
โดยปริมาณมูลค่าเพิ่มค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า
ของวัตถุดิบ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ ที่เน้นการแปรรูปวัตถุดิบเบื้องต้นเพื่อการ
ส่งออกไปยังอุตสาหกรรมปลายน้ำที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้อีกอย่างมหาศาล เช่น อุตสาหกรรมยางพารา ที่เน้นการส่งออกใน
รูปยางแผ่น ยางแท่ง หรือน้ำยาง เป็นต้น
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพยากรเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสร้างเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เป็น
เศรษฐกิจฐานความรู้ สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ตอนล่างมีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนา แต่พบว่าในอดีตที่ผ่านมายังขาด
การวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่งานวิจัยในสถาบันการศึกษา จะเป็นการวิจัยตามความสนใจของนักวิจัย
เพื่อเพิ่มโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ โดยยังไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับโจทย์วิจัยที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้
วิจัยจริงๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถาบันการศึกษาเริ่มตื่นตัวที่จะทำงานวิจัยซึ่งเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำ
ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย