15th July 2024

ในปี 2567 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีอายุย่างเข้า 52 ปี โดยจัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 5 ในจำนวน 35 คณะ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาในภาคใต้ ซึ่งจัดการศึกษาพยาบาลในระดับอุดมศึกษาตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาพยาบาลในภาคใต้ และผลิตบุคลากรพยาบาลให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในระยะแรกเริ่มที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2516 คณะพยาบาลศาสตร์ มีฐานะเป็นภาควิซาโรงเรียนพยาบาล สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับนักศึกษารุ่นแรกเข้าศึกษาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2516 จำนวน 19 คน ในหลักสูตรอนุปริญญาพยาบาลและผดุงครรภ์ มีะยะเวลาศึกษา 3 ปี 6 เดือน ซึ่งรับเพียงรุ่นเดียว ในปีต่อมาได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) มีระยะเวลาศึกษา 4 ปี มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 20 คน ต่อมาภาควิชาโรงเรียนพยาบาล ได้ยกฐานะเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 และมีพระราชกฤษฎีกจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2523 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 4 ฉบับพิเศษ เล่มที่ 97 ตอนที่ 154 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2523


วิวัฒนาการด้านการจัดการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์
– พ.ศ. 2516 เปิดหลักสูตรอนุปริญญาพยาบาลและผดุงครรภ์ และปิตรับใน พ.ศ. 2517
– พ.ศ. 2517 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) จนถึงปีการศึกษา 2524
– พ.ศ. 2521 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน จนถึงปีการศึกษา 2525 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล)
– พ.ศ. 2522 ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผดุงครรภ์เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2522 และได้ปิดเมื่อปีการศึกษา 2531
– พ.ศ. 2529 เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 1 ปี) พ.ศ. 2529 และได้ปิดเมื่อปีการศึกษา 2534
– พ.ศ. 2530 เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สำหรับพยาบาลผู้สำเร็จการศึกษาระตับประกาศนียบัตร
พยาบาลผดุงครรภ์ (ระดับต้น) จนถึงปีการศึกษา 2540 และเปิดรับนักศึกษาอีกครั้งในปีการศึกษา 2546-2548 ทั้งนี้ได้เปิดสอนเป็นต่อเนื่องภาคพิเศษ ในปีการศึกษา 2548-2550
– พ.ศ. 2531 เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
– พ.ศ. 2533 เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ และสาขาการพยาบาลบิดามารดาและเด็ก
– พ.ศ. 2538 เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
– พ.ศ. 2541 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนระบบสาธารณสุข ในปีการศึกษา 2549 มีการปรับปรุงหลักสูตร โดยใช้ชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ (ปิดหลักสูตรในปีการศึกษา 2556) ซึ่งในปีการศึกษา 2541 ได้เริ่มเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล (หลักสูตรนานาชาติ)
– พ.ศ. 2545 เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2545) มี 6 สาขา คือสาขาการพยาบาลเด็ก สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวซ สาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน สาขาการบริหารการพยาบาลและสาขาการพยาบาลสตรี ซึ่งในปีการศึกษา 2545 ได้เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิซาการพยาบาล (หลักสูตรนานาชาติ)
– พ.ศ. 2550 ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต โดยมี 5 สาขา คือสาขาการพยาบาลเด็ก สาขาการ
พยาบาลผู้ใหญ่ สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช สาขาการบริหารการพยาบาล และสาขาการผดุงครรภ์ชั้นสูง
ทั้งนี้ สาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมซนได้พัฒนาเปิดหลักสูตรใหม่ คือหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
– พ.ศ. 2551 สาขาการบริหารการพยาบาลได้พัฒนาหลักสูตรแยก โดยเป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิซาการบริหารการพยาบาล
– พ.ศ. 2554 ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต โดยมี 4 สขา คือสาขาการพยาบาลเต็ก สาขาการ
พยาบาลผู้ใหญ่ สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และสาขาการผดุงครรภ์ชั้นสูง
– พ.ศ. 2560 หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ได้ปรับปรุงหลักสูตรและแยกแต่ละสาขาเป็นหลักสูตรเดี่ยว โดยมี 7
หลักสูตรประกอบด้วย
1. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณต สาชาวิซาการพยาบาลเต็ก
2. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
3. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
4. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์
5. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล
เวชปฏิบัติชุมชน
6. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
7. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิซาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (นานาชาติ)
– พ.ศ. 2563 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตได้มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบเวลา (ทุก 5 ปี) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 โดยใช้การพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (outcome-based education) เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร และเปิดรับนักศึกษาทั้งห้องเรียนไทยและห้องเรียนอังกฤษ โดยเริ่มปิดรับนักศึกษาห้องเรียนอังกฤษ ปีการศึกษาละ 30 คน
– พ.ศ. 2564 หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตทุกสาขาวิชา รวมทั้งหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิซาการพยาบาล
(นานาชาติ) ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นสำคัญ

ภาพและเรื่องจาก : 5 ทศวรรษ การจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ