ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข

 

วาระการดํารงตําแหน่ง
วาระที่ 1 มีนาคม 2512-มีนาคม 2514
วาระที่ 2 มีนาคม 2514-กรกฎาคม 2514

ประวัติ

      ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข เกิดเมื่อวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 ที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายแจ้ง และนางไน้ มงคลสุข มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 1 คน คือนายแสตมป์ มงคลสุข ศาสตราจารย์สตางค์ มงคลสุข สมรสกับนางสาวยุพิน (เบญจกาญจน์) เมื่อปี พ.ศ. 2490 มีบุตรธิดา 4 คน คือจากคำบอกเล่าของบุคคลใกล้ชิดได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่ท่านเกิดนั้นมีฝนตกลงมาอย่างหนักและเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องไปทั่ว ช่อฟ้าหน้าโบสถ์ที่วัดใกล้บ้านได้หักลงมา ท่านสมภารได้เดินทางมาเยี่ยมถึงที่บ้านและผูกดวงให้พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า “สตางค์” หมายถึง “หนึ่งในร้อย” อีกทั้งยังกำชับบิดา มารดาให้เลี้ยงดูเด็กชายสตางค์ให้ดีท่านเป็นเด็กที่เรียนดี เฉลียวฉลาด แต่เมื่อจบชั้นมัธยมต้นบิดาของท่านจะไม่ให้เรียนต่อ เนื่องจากขัดสนเรื่องรายได้ จนคุณครูและท่านสมภารต้องมาเกลี้ยกล่อมถึงที่บ้านให้ส่งเสียให้เรียนต่อ ท่านสมภารถึงกับเอ่ยปากว่าหากมีปัญหาอะไรให้ช่วย ท่านก็ยินดีจะช่วย และจะยินดีมากหากจะได้มีส่วนส่งเสียให้ได้เล่าเรียนต่อชั้นสูง ๆ แต่ถ้าไม่รับปากท่านสมภารจะนั่งอยู่อย่างนั้นไม่ยอมกลับวัด บิดาของท่านจึงยอมให้เรียนต่อ แต่จะไม่ยอมรบกวนท่านสมภารเด็ดขาดและจะส่งเสียให้เล่าเรียนด้วยตัวของท่านเอง

การศึกษา

  • พ.ศ. 2481 มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2485 ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2487 ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณ ฑิต สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2493 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา เคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. 2494 ทำการวิจัยเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ต่อในประเทศอังกฤษพร้อมทั้งฝึกงาน การสกัดน้ำมันพืชและดูงานอุตสาหกรรมทำยาจากโรงงานต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2507 สำเร็จ ว.ป.อ. รุ่นที่ 7

การทำงาน

  • พ.ศ. 2486  อาจารย์ผู้ช่วยสอนแผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2488  อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2490  ลาราชการเพื่อศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. 2493  อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2494  อาจารย์โท แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2496  อาจารย์เอก แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2501  ผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2502 ศาสตราจารย์แผนกเคมี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2503 รักษาการคณบดี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2503 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • (พ.ศ.2512 เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • พ.ศ. 2511  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ราชการพิเศษและหน้าที่ราชการอื่น ๆ

  1. กรรมการมูลนิธิอานันทมิหดล
  2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  6. กรรมการพัฒนามหาวิทยาลัย
  7. กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  8. กรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการช่วยเหลือในระดับอุดมศึกษาในด้านแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  9. กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
  10. กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
  11. กรรมการสอบคัดเลือกผู้ที่จะไปศึกษา ณ ต่างประเทศตามโครงการหลายโครงการทั้งของไทยและต่างประเทศ
  12. กรรมการร่วมกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันประเทศอังกฤษและประเทศออสเตรเลีย เพื่อจัดหาอาจารย์จากต่างประเทศ จัดหาทุนให้อาจารย์และนักศึกษาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
  13. เป็นผู้แทนไปประชุมสากลเคมี ตามคำเชิญของสมาคมเคมีประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ
  14. เป็นผู้ดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และได้ขยายงานจนเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน
  15. เป็นผู้ช่วยราชการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และช่วยเหลือด้านต่าง ๆ หลายด้านเรื่อยมา
  16. ช่วยดำเนินงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งแต่เริ่มแรกและช่วยเหลือออกแบบห้องทดลอง ช่วยหาอาจารย์ ช่วยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีสถานที่เรียน ก่อนที่มหาวิทยาลัยจะสร้างเรียบร้อย โดยให้ทำการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเวลา 2 ปี ครึ่ง และช่วยสอนด้วยตนเองตลอดระยะเวลานั้น
  17. เป็นผู้ช่วยในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาผู้บริจาคที่ดินให้แก่ราชการจัดหาคณาจารย์ เพื่อทำการสอน ตลอดจนหาทุนช่วยเหลือจากต่างประเทศ
  18. ดำเนินการขอความช่วยจากต่างประเทศให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดังต่อไปนี้
    – ประเทศออสเตรเลีย : ให้เครื่องมือทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นมูลค่าประมาณ 5 แสนบาท และให้ทุนแก่นักศึกษาไปศึกษาต่อเพื่อกลับมาเป็นอาจารย์ของคณะฯ
    กว่า 30 ทุน
    – ประเทศอังกฤษ : ให้เครื่องมือวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก ให้ทุนแก่นักศึกษาหลายสิบคนและส่งอาจารย์ชาวอังกฤษมาช่วยสอนในคณะฯ ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี
    – ประเทศสหรัฐอเมริกา
    – มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ : ให้ความช่วยเหลือขยายงานของคณะฯ ระยะยาว โดยให้ทุนการจัดซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำหรับการวิจัยและการสอน ให้ทุนการศึกษาสำหรับอาจารย์เพื่อศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จนถึงปริญญาเอก เพื่อกลับมาทำการสอนในคณะฯ ให้ตำราเรียนและวารสารวิทยาศาสตร์มากมาย ส่งผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ จากสหรัฐฯ มาทำการสอน และจัดตั้งภาควิชาต่าง ๆ จนกว่าอาจารย์ไทยจะมีเพียงพอและให้ทุนอื่น ๆ อีกมากเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท
    – Massachusetts Institute of Technology : เปิดศูนย์การวิจัยสารที่เป็นพิษจากเชื้อราร่วมกับคณะฯ ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว ได้รับเครื่องมือและเงินทุนวิจัยหลายล้านบาท และได้ให้ทุนแก่อาจารย์ของคณะฯ เพื่อไปศึกษาต่อด้วย
    – เป็นผู้แทนหรือผู้รับเชิญให้ไปประชุมยังต่างประเทศในเรื่องอื่น ๆ นอกจากการขอความช่วยเหลือและการประชุมทางวิชาการเคมีหลายครั้ง อาทิ รับเชิญจากรัฐบาลออสเตรเลียไปประชุม Australlian-New Zealand Association for the Advancement of Sciences, 37th Congress ณ กรุงแคนเบอร่า ในปี พ.ศ.2507
      นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ยังเป็นกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของส่วนราชการ และบริษัทอุตสาหกรรมหลายแห่ง และมีหน้าที่การงานพิเศษอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ การศึกษา และวงการวิทยาศาสตร์ของชาติทั้งสิ้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2495  เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2496  จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2498  ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2505  ตริตาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2507  ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2508  ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2510   ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2512   ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
  • พ.ศ. 2513  ประถมมาภรณ์ช้างเผือก
  • เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
  • พ.ศ. 2514  ทุติยจุลจอมเกล้า

ผลงานที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

   – เป็นผู้มีส่วนสําคัญยิ่งในการดําเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาผู้บริจาคที่ดินให้แก่ราชการ จัดหาครนาซารย์เพื่อทําการสอน ตลอดจนจัดหาทุนช่วยเหลือจาก ต่างประเทศ

ถึงแก่กรรม

   วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2514 กลายเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของไทย เมื่อท่านได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ แต่ท่านจะยังคงสถิตอยู่ในใจของทุกคนที่เกี่ยวข้องไปตลอดกาล

Back To Top