Page 96 - ศิษย์เก่าดีเด่น ปี ๖๐
P. 96

95


          ผลงานเด่นด้านสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและสถาบัน
                  ตั้งแต่  พ.ศ.  2546-2555  ได้เริ่มให้ความสนใจพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อพบว่าครู
          ส่วนมากไม่เข้าใจการเรียนรู้จากการท�าโครงงาน    จึงสนับสนุนทุน  สกว.  ภายใต้โครงการยุววิจัยใน
          อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยางพารา  ท่องเที่ยว  สิ่งทอพื้นบ้าน  หัตถกรรมพื้นบ้าน  และเศรษฐกิจชุมชน

          ได้พัฒนาองค์ความรู้เป็นหนังสือ 5 เล่มเพื่ออธิบายการท�าโครงงานที่เป็นการเรียนรู้ของนักเรียน
                  พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  ที่สนับสนุนโดย สกว. และ
          บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ท�างานร่วมกับ 8 มหาวิทยาลัยพัฒนาการสอนโครงงานฐานวิจัย (Research-
          Based Project) เพื่อปฏิรูปการท�าโครงงานและการวิจัยในการศึกษาขั้นพื้นฐาน 80 โรงเรียนใน 18
          จังหวัด มีครูและนักเรียนเข้าร่วม 400 และ 3,500 คนต่อปีตามล�าดับ  ซึ่งความคิดหลักที่ใช้คือ
               1. การศึกษาต้องเรียนรู้ผ่าน ความเข้าใจจากประสบการณ์ปฏิบัติ  คิดด้วยเหตุด้วยผล  จนรู้
                  เอง (กาลามสูตร)
               2. วิจัยสร้างปัญญาให้ผู้ท�า   วิจัยจึงเป็นกระบวนการของการศึกษา
               3. การได้ปัญญาจากวิจัยเป็นผลเฉพาะตน  ดังนั้น วิจัยต้องเป็นงานของผู้เรียน

               4. ปัญญาเกิดได้จากการคิดบูรณาการความรู้เข้าสู่ข้อสรุปอย่างมีเหตุ-ผล มีตรรกะ
               5. ครูต้องเข้าใจวิจัยในส่วนของกระบวนการ แล้วจัดให้นักเรียนท�า
                  แนวคิดทั้ง  5  ปฏิวัติความเชื่อของวิจัยในการศึกษาไทย    ว่าวิจัยคือกระบวนการของ
          นักเรียนไม่ใช่ครู  ซึ่งต้องฝึกครูใหม่ให้เข้าใจวิจัยที่อยู่ในระบบคิดเหตุและผล (ความเข้าใจเดิมของครูที่
          ถูกสอนมา คือ วิจัยใช้สถิติเป็นเครื่องมือ  เข้าใจเพียงความสัมพันธ์  ไม่ใช่หลัก “ผลเกิดจากเหตุ”)
                  โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาได้รับคัดเลือกให้เป็นโครงการเด่นของ  สกว.  ในปี  2556    มี
          ผลงานเป็นหนังสือสรุปจากผลงานวิจัยประมาณ  20  เล่ม    เผยแพร่เป็นสกู๊ปข่าวมติขนสุดสัปดาห์
          46 สัปดาห์ (ใน 4 ปี)  สารคดีชุดแทนคุณแผ่นดิน 8 ตอน  และในชุด The Researcher 1 ตอน
         กระบวนการให้การศึกษาแบบเพาะพันธุ์ปัญญาได้รับการยอมรับจากสภาคณบดีครุศาสตร์ ม. ราชภัฎ
         ทั่วประเทศ  และจะพยายามน�าไปปรับการผลิตครูจากการร่วมทุนกับ สกว.ต่อไป
                 กระบวนการนี้ได้ขยายผลสู่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ  (เรียนพุทธศาสนาร่วมกับ

         การศึกษาขั้นพื้นฐาน) ใน 60 โรงเรียนของ 5 จังหวัดภาคเหนือ และ 5 โรงในภาคอีสานตอนใต้  โดย
         แสวงหาทุนสนับสนุนจาก ส้มจีน  อุณหะนันท์ มูลนิธิและ บ. ชับบ์สามัคคีประกันภัย
                                            ี
                                              �
                 ด้วยผลงานพัฒนากระบวนการศึกษาท่ทามาหลายปีจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการ
         ปฏิรูปกฏระเบียบการศึกษาของ  สปช.    และปัจจุบันเป็นอนุกรรมการการเรียนการสอน  ของคณะ
         กรรมการอิสระเพื่อปฎิรูปการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ 2560
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101