Page 15 - สงขลา
P. 15
15
โดยการเดินทางเชื่อมระหว่างสองทวีปในระยะแรก ๆ นี้
ไม่ใช่เป็นการเดินทางแบบรวดเดียวถึงกันตลอด แต่ต้องมีจุดหยุดพัก
เป็นระยะ ๆ โดยอาศัยเมืองท่า และสถานีพักสินค้าเพื่อถ่ายสินค้า
เพิ่มเติมน้ าจืดและอาหาร รวมไปถึงการซ่อมแซมเรือจากจุดหนึ่งไปยัง
อีกจุดหนึ่ง ทั้งนี้หากย้อนกลับมาพิจารณาจากท าเลที่ตั้งของภาคใต้
ของประเทศไทย ที่เป็นคาบสมุทรตั้งอยู่ระหว่างประเทศที่เป็นอู่อารยะ
ธรรมคือประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศแถบอาหรับเปอร์เซีย
และประเทศแถบชวา-มลายู จะพบว่าดินแดนทางภาคใต้ของประเทศ
ไทย เป็นดินแดนที่อยู่ในต าแหน่งเส้นทางการค้าขายทางทะเล
รวมถึงเป็นดินแดนที่พ่อค้าชาวแขกมัวร์ ใช้เส้นทางนี้เดินทางค้าขาย
ทางเรือโดยอาศัยลมสินค้าในสมัยโบราณที่จ ากัดโดยสภาพภูมิศาสตร์
และเทคโนโลยีการต่อเรือ รวมถึงการเดินเรือซึ่งในสมัยนั้น ต้อง
อาศัยทิศทางและก าลังลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเดินทางจาก
อินเดียไปยังจีน และอาศัยลมมรสุมจากตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อ
เดินทางจากจีนไปยังอินเดีย และบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรไปถึง
เส้นห้าองศาเหนือ เป็นพื้นที่อันตรายเพราะเป็นเขตจุดเริ่มต้นของลม
สินค้า ลมจะสงบนิ่ง (ไร้กระแสลม เรียกว่าโดลดรัม (Doldrums)
ประวัติชื่อบ้านนามเมืองภาคใต้