Page 35 - รายงานประจำปี ๒๕๕๗ ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์
P. 35

การวินิจฉัยและการผ่าตัด


                                                      มะเร็งต่อมไทรอยด์

                                                      โดย  ผศ.นพ.ธนเดช เดชาพันธุ์กุล

                                                      ภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์




                      ต่อมไทรอยด์มีลักษณะคล้ายรูปผีเสื้อ


                    อยู่ด้านหน้าของลำาคอทั้งซ้าย (กลีบซ้าย)  และขวา
                    (กลีบขวา)  อยู่บริเวณด้านหน้าหลอดลม  ประมาณ

                    หลอดลมวงแหวนที่ 5-6 ข้างหลังมีต่อมพาราไทรอยด์
                    4  ต่อม  มีเส้นประสาทที่เลี้ยงเส้นเสียงแท้วิ่งผ่าน
                    ด้านหลัง


                    หน้าที่ของต่อมไทรอยด์

                      • สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน - ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย เร่งการหายใจ
                    ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย เช่น เร่งการสลายไขมัน เร่งการสลายไกลโคเจน จึงมีผลต่อการ
                    สร้างพลังงาน และอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง

                                                                      ำ
                      • สร้างแคลซิโทนินฮอร์โมน - ลดระดับแคลเซียมในเลือดให้ต่าลง ถ้าในเลือดมีระดับแคลเซียมสูงกว่าปกติ
                    อุบัติการณ์ของก้อนบริเวณต่อมไทรอยด์

                      พบก้อนที่ไทรอยด์จากการอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์โดยไม่ได้ตั้งใจ ประมาณ 19-67% เป็นอาการแสดงที่

                    พบบ่อยที่สุดของมะเร็งไทรอยด์ 5-10% ของก้อนไทรอยด์ที่คลำาพบ มีโอกาสเป็นมะเร็ง อัตราส่วนระหว่าง
                    เพศหญิง:ชาย = 4:1 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของต่อมไทรอยด์ คือ พบบ่อยในเพศหญิงขาดเกลือไอโอดีน
                    การได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณคอ และกรรมพันธุ์ อาการที่ควรจะระวังว่าจะเป็นมะเร็งเมื่อพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์

                                                          ้
                                                          ำ
                    ได้แก่ ก้อนที่ไทรอยด์โตเร็ว เสียงแหบ พบต่อมนาเหลืองที่คอโตร่วมด้วยกลืนอาหารลำาบาก มีอาการจากมะเร็ง
                    แพร่กระจาย เช่น ปวดกระดูก ไอเป็นเลือด หายใจเหนื่อยหอบ เป็นต้น การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์คือ
                                    ้
                    การผ่าตัด การกลืนนาแร่ การให้รังสีรักษาการให้เคมีบำาบัด และการรักษาแบบจำาเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง
                                    ำ
                    (Targeted therapy)
                                                                                                   ้
                                                                                                   ำ
                      การผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์ ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการผ่าตัดไทรอยด์ออกทั้งหมด ร่วมกับเลาะต่อมนาเหลือง
                                    ำ
                                    ้
                    ที่คอ ในกรณีต่อมนาเหลืองที่คอโต ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดที่พบได้ คือ เส้นเสียงแท้เป็น
                    อัมพาต แคลเซียมในเลือดตา อาการที่พบคือ ชาที่ริมฝีปาก ลิ้น และปลายมือปลายเท้า อาการมือจีบเกร็ง
                                          ำ
                                          ่
                    ทั้งสองข้าง ตะคริวที่ขา ใบหน้า มีอาการปวดบิดในท้อง เลือดออก ติดเชื้อ ภาวะการอุดกั้นของทางเดิน
                    หายใจส่วนบน การรักษาหลังการผ่าตัดคือ การติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด และการกลืนน้าแร่
                                                                                         ำ










                                    สาขามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  35
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40