Page 19 - รายงานประจำปี ๒๕๕๕ ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์
P. 19

รายงานประจ�าปี 2555
                                                                        ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบ�าบัดโรคมะเร็ง















                  ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบ�าบัดโรคมะเร็ง สาขาวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
            สงขลานครินทร์ ได้ด�าเนินการจัดกิจกรรม “โครงการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเรื่อง โรคมะเร็งและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย”
            มาตั้งแต่ปี 2552 โครงการดังกล่าวจัดท�าขึ้นภายใต้การท�างานของทีมบ�าบัดองค์รวม ที่มีการบูรณาการระบบการดูแลรักษาอย่าง
            องค์รวมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบ�าบัดโรคมะเร็ง สาขาวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
            มีหน้าที่หลักในการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบ�าบัด โครงการดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส�าหรับผู้ป่วยมะเร็ง
            ที่ได้รับยาเคมีบ�าบัดส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยมีก�าลังใจและมั่นใจในการรักษา
            มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการดูแลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณอย่างองค์รวมด้วยความเอาใจใส่ประดุจญาติมิตร

            ก่อให้เกิดความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในบรรยากาศที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทาง
            สาธารณสุข ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีความสุขสมดุล


            สถานที่จัดกิจกรรม : ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบ�าบัดโรคมะเร็ง สาขาวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย-
            ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคลินิกอายุรกรรมมะเร็ง ทุกวันจันทร์ เวลา 08.30-09.00 น และ 13.00-13.30 น.


            ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : ผู้ป่วยและครอบครัวที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบ�าบัดครั้งแรกของศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบ�าบัด
            โรคมะเร็ง


            รูปแบบการจัดกิจกรรม : ผู้ป่วยและครอบครัวจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบ�าบัด ผลข้างเคียง
            ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการได้รับยาเคมีบ�าบัด ค�าแนะน�าในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้

            การดูแลตนเองก่อน-ระหว่าง-หลัง ได้รับยาเคมีบ�าบัด ผ่านสื่อความรู้ที่จัดท�าขึ้นในรูปแบบวีดีทัศน์ ที่ได้จากการพัฒนางาน
            ประจ�าสู่งานวิจัยและน�าผลการวิจัยมาพัฒนางานประจ�า โดยสื่อความรู้แบบวีดีทัศน์นี้มีผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับความรู้
            จากการดูวีดีทัศน์ มีความรู้เพิ่มขึ้นและมีความวิตกกังวลลดลงไม่แตกต่างจากการได้รับความรู้จากบุคลากรสาธารณสุข ทั้งนี้
            สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากงานวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ
            ยาเคมีบ�าบัดต่อการเพิ่มพูนความรู้และลดความวิตกกังวลให้แก่ผู้ป่วย” ในวารสารโรคมะเร็ง 2554 ตุลาคม-ธันวาคม 31(4)
            : 125-136 ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันมีจ�านวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก แต่จ�านวนบุคลากรสาธารณสุขเท่าเดิม หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับ
            ความรู้จากวีดีทัศน์แล้วจะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวซักถามข้อสงสัย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่าง
            การเข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้จะมีการเน้นย�้าเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นที่จ�าเพาะกับยาสูตรต่างๆ ที่ผู้ป่วยได้รับเฉพาะราย
            อีกครั้ง รวมทั้งมีการมอบคู่มือส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว “เรียนรู้เพื่ออยู่กับมะเร็ง” ซึ่งเนื้อหาในคู่มือเหมือนกับวีดีทัศน์

            ที่จัดท�าขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้อ่านทบทวนเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน


            ผลการจัดกิจกรรม  : ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรม “โครงการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โรคมะเร็งและคุณภาพ
            ชีวิตของผู้ป่วย” ตามแผนงานที่วางไว้ ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษา มีส่วนร่วมใน
            การตัดสินใจร่วมกับแพทย์ในการรักษา มีแนวทางในการดูแลตนเอง ท�าให้ความวิตกกังวลลดลง มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
            ท�าให้ผู้ป่วย มีก�าลังใจและมั่นใจในการรักษามากขึ้น ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความไว้วางใจทีมการรักษา ทราบแหล่งช่วยเหลือ
            เมื่อเกิดปัญหาจากการรักษา เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วย ครอบครัวและบุคลากรสาธารณสุข


                                                                                                              19
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24