Page 37 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 37
5.3 แผนงานวิจัย “ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้”
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 เป็นต้นมา พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา และ
นราธิวาส และจังหวัดสงขลาบางส่วน เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อทำความ
เข้าใจสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาและแสวงหาทางออกของปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการศึกษาคือ
การมองปัญหาและสาเหตุของปัญหาดังกล่าวผ่านงานวิจัย ตลอดจนศึกษาบทเรียนในอดีต คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์จึงได้ศึกษาบทเรียนในอดีต งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้สัมมนาพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยปัญหาสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ใช้ผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ทำให้เกิด
แผนงานวิจัยบูรณาการ “ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติในปีที่ 1 วงเงินงบประมาณ 14,000,000 บาท ดำเนินการวิจัยตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2549 ถึงวันที่ 15
สิงหาคม 2550 (ตารางที่ 5.2) โดยมุ่งหวังให้ได้ผลผลิตจาก 5 แผนงานย่อย (13 โครงการวิจัย) ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา
และพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความเชื่อมโยงกันด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์มลายู พัฒนา
ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทางสังคม การศึกษา และการพัฒนาข้อเสนอนโยบายรัฐ
ผลงานวิจัยบูรณาการ “ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ปีที่ 1 ทำให้ได้คำตอบจากการวิจัยใน 5 ด้านดังกล่าว
แต่ยังมีบางส่วนที่เป็นโครงการต่อเนื่องยังวิจัยไม่แล้วเสร็จในเวลา 1 ปี รวมทั้งมีคำถามการวิจัยใหม่ๆ ตามสถานการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเพิ่มเติม จึงยังคงมีการวิจัยต่อเนื่องใน 5 แผนงานย่อย (11 โครงการวิจัย) ของแผนงานวิจัยบูรณาการ
“ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” โครงการต่อเนื่องปีที่ 2 วงเงินงบประมาณ 14,000,000 บาท ดำเนินการวิจัยตั้งแต่
เดือนกันยายน 2551 ถึงเดือนตุลาคม 2552 (ตารางที่ 5.3) 31
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
เพื่อสร้างความรู้ในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 5 เรื่องที่สำคัญ คือ
1. สร้างความรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์มลายูและการอยู่ร่วมกันในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
2. พัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. พัฒนาข้อเสนอการพัฒนานโยบายรัฐด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหารที่เหมาะสม
4. เพื่อพัฒนาระบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
5. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพทวิภาษา พัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและตาดีกา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย