Page 179 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 179

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา



                อบต.ท่าข้าม สนใจระบบผลิตไบโอดีเซลของสถานวิจัยเทคโนโลยีพลังงาน ม.อ.
                        เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2552 CILO ได้ประสานงานนำ นายสินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

                ท่าข้าม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและตัวแทนชาวบ้าน ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานระบบ
                การผลิตไบโอดีเซลแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับชุมชนของสถานวิจัยเทคโนโลยีพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
                สงขลานครินทร์ โดยมี รศ.กำพล ประทีปชัยกูร ผู้อำนวยการสถานวิจัยฯ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับและบรรยายข้อมูล
                        ในการบรรยาย รศ.กำพล กล่าวว่า “การผลิตไบโอดีเซลนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่ทุกคนคิด วัตถุดิบที่จะนำมาใช้ก็เป็น

                สิ่งที่มีอยู่ในชุมชนแล้ว เช่น ปาล์ม สบู่ดำ แต่ที่ใกล้ตัวที่สุดคือน้ำมันพืชที่เราใช้แล้วนั่นเอง แทนที่เราจะทิ้งไปโดยที่ไม่เกิด
                ประโยชน์ และยังจะสร้างปัญหาให้อีก วิธีการผลิตไบโอดีเซลก็ไม่ได้มีมากมายแต่ต้องอาศัยความเข้าใจ และวันนี้ก็ถือเป็นโอกาส
                ดีที่ชุมชนท้องถิ่นให้ความสนใจต่อผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย”
                        คณะผู้เข้าศึกษาดูงานให้ความสนใจระบบการผลิตไบโอดีเซลแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับชุมชนขนาด 100 ลิตร และ

                มีแนวคิดที่จะขอนำระบบการผลิตไบโอดีเซลแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับชุมชนไปติดตั้งในเขตพื้นที่อบต.ท่าข้าม เพื่อที่จะผลิต
                ไบโอดีเซลใช้เองในชุมชนต่อไป


                นักวิจัย ม.อ. เข้าพบคณะผู้บริหารเทศบาลนครสงขลาและผู้แทนจากกรมโยธาธิการ เพื่อให้ข้อมูลเรื่องการแก้ไขปัญหา

                น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งของหาดสมิหลาฯ
                        เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2552 อ.พยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์   173
                และคณะผู้ติดตามพร้อมด้วยทีมงาน CILO เข้าพบเพื่อหารือและให้ข้อมูล เรื่อง การแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งของ
                หาดสมิหลา จ.สงขลา แก่คณะผู้บริหารเทศบาลนครสงขลาและผู้แทนจากกรมโยธาธิการ ณ ห้องประชุมเทศบาลนครสงขลา



                ผู้จัดการโรงงานไม้ยางพารา จ.ยะลา เข้าพบนักวิจัย ม.อ. ขอวิธีอบไม้ยางฯ ให้มีสีขาว
                        เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2552 CILO ได้ประสานงานนำ นายประกิจ พรไชยวิจิตร ผู้จัดการโรงงานผลิตไม้ยางพารา
                ตราช้างแดง จ.ยะลา นำตัวอย่างไม้ยางพาราและสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการอบไม้ยางฯ เข้าพบ ผศ.ดร.ราม แย้มแสงสังข์

                อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อหารือแนวทางแก้ปัญหาการอบไม้ยางพาราให้มีสีขาวเสมอ
                ทั่วกัน เนื่องจากเดิมไม้ยางฯ ที่อบออกมาในแต่ละครั้ง มีสีไม่เสมอกัน ผลจากการหารือ ผศ.ดร.ราม จะวิเคราะห์สารเคมี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
                และตัวอย่างไม้ยางฯ อีกครั้งหนึ่ง โดยอาจจะนำปัญหานี้ไปเป็นโจทย์วิจัยสำหรับนักศึกษา ตลอดจนอาจเสนอของบประมาณ
                สนับสนุนตามช่องทางที่มหาวิทยาลัยมีเพื่อดำเนินกิจกรรมนี้ต่อไป



                เกษตรกรเจ้าของสวนมะนาว จ.พัทลุง พบ นักวิจัย ม.อ. แนะเทคโนโลยีการยืดอายุมะนาวหลังการเก็บเกี่ยว
                        เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552 CILO ได้ประสานงานจัดประชุมเพื่อหารือรวมทั้งพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                ระหว่างนักวิจัยในหัวข้อ “เทคโนโลยีการยืดอายุมะนาวหลังการเก็บเกี่ยว” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหามะนาวขาดตลาด

                ในช่วงหน้าแล้งและต่อยอดด้วยวิธีการเก็บรักษามะนาวให้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ ให้กับ คุณเรณู วงศ์อนันต์ และคณะ
                ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรเจ้าของสวนมะนาว จาก จ.พัทลุง ณ ห้องเลิศพัฒน์ สำนักวิจัยและพัฒนา โดยการหารือในครั้งนี้มี
                อาจารย์/นักวิจัยและผู้สนใจให้เกียรติเข้าร่วมหารือเป็นจำนวนมาก


                ประสานงานนักวิจัยเสนอโครงการเพิ่มมูลค่าแก่ผลผลิตจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ (2V - Program) ของ วช.
                        CILO ประสานงานเสนอโครงการเพิ่มมูลค่าแก่ผลผลิตจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ (2V-Program) ของสำนักงาน

                คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
                        1)  package epicalc และ program R โดย ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล ผอ.ศูนย์คอมพิวเตอร์ และคณะ
                ร่วมกับ ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และคณะ
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184