Page 2 - พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พุทธศักราช 2559
P. 2

หน้า   ๒

              เล่ม   ๑๓๓   ตอนที่   ๕๓   ก          ราชกิจจานุเบกษา                  ๒๑   มิถุนายน   ๒๕๕๙


                      “สภาอาจารย์”  หมายความว่า  สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                      “สภาพนักงาน”  หมายความว่า  สภาพนักงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                      “พนักงานมหาวิทยาลัย”  หมายความว่า  พนักงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                      “ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย”  หมายความว่า  พนักงานมหาวิทยาลัย  ข้าราชการ  ลูกจ้างของ

              ส่วนราชการซึ่งปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย  พนักงานราชการ  และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
                      “รัฐมนตรี”  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                      มาตรา  ๕        ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

              พ.ศ.  ๒๕๒๒  เป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามพระราชบัญญัตินี้  และเป็นนิติบุคคล
                      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีฐานะเป็นหน่วยงานในกํากับของรัฐ  ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย

              ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
              และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม  และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วย
              วิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น

                      มาตรา  ๖        ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

                                                        หมวด  ๑
                                                        บททั่วไป



                      มาตรา  ๗        ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง  มีวัตถุประสงค์

              ให้การศึกษา  ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ  วิชาชีพ  และงานวิจัย  เพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยี
              อันจะนําไปใช้พัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ  โดยมีภารกิจด้านการเรียนการสอน
              การวิจัย  การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม  และการทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม

                      มาตรา  ๘        เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยตามมาตรา  ๗  มหาวิทยาลัยต้องให้
              ความสําคัญและคํานึงถึง

                      (๑)  ความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
                      (๒)  ความมีเสรีภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการควบคู่ไปกับความมีคุณธรรม
                      (๓)  ความมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ

                      (๔)  ความโปร่งใสและตรวจสอบได้  รวมทั้งความรับผิดชอบต่อรัฐและสังคม
                      (๕)  ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการ

                      (๖)  การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
                      (๗)  ความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่

                      (๘)  ความเชื่อมโยงกับชุมชน  หน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน  และนานาชาติ
                      (๙)  การนําองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปใช้พัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า

                      (๑๐) ความคล่องตัวของการบริหารงานในวิทยาเขต
   1   2   3   4   5   6   7