Page 41 - เหนือเกล้าชาวสงขลานครินทร์
P. 41
ของพสกนิกรของพระองค์ ทรงน�าประสบการณ์และข้อมูลเหล่านี้มาประกอบพระบรม
ราชวินิจฉัย ส่งผลให้เกิดโครงการพัฒนาและกิจกรรมในพระราชด�าริเป็นจ�านวนมาก
กิจกรรมเหล่านี้จ�านวนไม่น้อยต้องใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และความรู้ทางด้านวิศวกรรม
สาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็นศาสตร์วิศวกรรมพลเรือนเพื่อการสร้าง
และการจัดการ การก่อสร้างที่ปลอดภัย ประหยัด พอเพียง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการนี้
ได้ทรงพระปรีชาด้านวิศวกรรมส�ารวจ วิศวกรรมจราจร วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมแหล่งน�้า
ทั้งการกักเก็บน�้าและการระบายน�้า และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ที่ทรงมีอย่างครบถ้วน
สมบรูณ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักส�ารวจ และทรงพระปรีชาในการใช้แผนที่
อย่างยิ่ง ในโอกาสเสด็จพระราชด�าเนินไปยังสถานที่ต่าง ๆ จะทรงน�าแผนที่ที่ได้ทรงจัดเตรียม
และตัดต่อด้วยพระองค์เองไปด้วยเสมอ จะทรงศึกษาภูมิประเทศและเส้นทางจากแผนที่
อย่างละเอียดเพื่อประกอบการวางแผนโครงการตามพระราชด�าริ โดยในขณะทรงงาน
จะทรงเติมข้อมูลต่าง ๆ ลงไป และจะทรงแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของแผนที่
ให้ถูกต้องอีกด้วย และนอกจากแผนที่แล้วยังทรงสนพระราชหฤทัยและใช้ประโยชน์
จากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม ตลอดจนถึงการใช้อุปกรณ์ประกอบ
เช่น มาตรระยะทางและเข็มทิศ ทรงเชี่ยวชาญในการแปลความหมายของภาพถ่ายทางอากาศ
และได้ทรงใช้ข้อมูลนี้ประกอบการใช้แผนที่เพื่องานส�ารวจอยู่เนือง ๆ
โครงการพระราชด�าริที่นับได้ว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรก ย่อมกล่าว
ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับงานโยธา คือ การก่อสร้างเส้นทางเพื่อการคมนาคมของประชาชน
โครงการนี้เกิดขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๕ ที่อ�าเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้น
ก็มีโครงการการพัฒนาการคมนาคมขนส่งอีกหลายประการ ทั้งในชนบทและในส่วนกลาง
ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี ที่เชื่อมต่อกับสะพาน
สมเด็จพระปิ่นเกล้าและสะพานพระราม ๘ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เกิดจากพระราชด�าริ เมื่อ
พุทธศักราช ๒๕๓๘ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรจากปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ข้ามแม่น�้าเจ้าพระยา
37