Page 32 - เหนือเกล้าชาวสงขลานครินทร์
P. 32
ได้อย่างประจักษ์ชัดแน่นอนแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เผยแพร่เป็นแบบอย่างแก่
ราษฎรน�าไปปฏิบัติ เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาค้นคว้าทั้งในเรื่องการจัดการน�้า ที่ดินท�ากิน การเสื่อมโทรมของ
ทรัพยากรธรรมชาติ และความรู้พื้นฐานในด้านเกษตร โดยทรงปรับให้มีความสอดคล้องเหมาะสม
ตามสภาพภูมิศาสตร์และสังคม ทรงตั้งสถานีทดลองขึ้นในบริเวณสวนจิตรลดา โครงการ
ฝนหลวง การจัดการลุ่มน�้าต่างๆ ซึ่งได้ทรงด�าเนินการด้วยการวิเคราะห์สังเคราะห์ที่ลึกซึ้ง
จนสามารถน�าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแม่นย�าถูกต้อง และได้จัดให้ถ่ายทอดความรู้เพื่อน�าไปสู่
การปฏิบัติให้เกิดผลชัดเจน ท�าให้เกษตรกรในแต่ละภูมิภาคมีโอกาสเรียนรู้เทคนิควิธีแก้ปัญหา
จากของจริงและสถานที่จริง ทั้งได้พระราชทานพระราชด�าริให้จัดตั้งศูนย์การศึกษาการ
พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ เพื่อเป็นแหล่งรวมสรรพวิชาการ ค้นคว้าทดลอง และ
สาธิตทางด้านเกษตรกรรม และทรงบริหารจัดการศูนย์เหล่านี้ให้เป็นระบบบริหารเบ็ดเสร็จ
ที่จุดเดียวให้บริการแก่ประชาชนและเกษตรกรอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ได้แก่ ศูนย์ศึกษา
การพัฒนาเขาหินช้อน อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ อ�าเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นศูนย์รวมของความสมบูรณ์แบบเน้นการปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของดิน
และน�้าให้มีความสมบูรณ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ อ�าเภอ
เมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุเสื่อมโทรม เพื่อให้
สามารถท�าการเกษตรได้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ อ�าเภอเมือง
สกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นศูนย์ทดลองงานพัฒนาการเกษตรสาขาต่างๆ บนพื้นที่ซึ่ง
เป็นดินปนทรายเค็มและขาดแคลนน�้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ บริเวณป่าขุนแม่กวง
อ�าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการศึกษารูปแบบการพัฒนาพื้นที่
ต้นน�้าล�าธาร ศูนย์การพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ อ�าเภอชะอ�า จังหวัด
เพชรบุรี เป็นศูนย์ที่สร้างความสมดุลทางธรรมชาติและพลิกฟื้นป่ากลับคืนมา และศูนย์ศึกษา
การพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ อ�าเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์
ที่ศึกษาค้นคว้าทดลอง เพื่อปรับสภาพแวดล้อมด้านการประมงชายฝั่ง และการเกษตรในเขต
28