หยั่งราก : ชีวิตบนแพร่งวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และจิตวิญญาณ

                 "หยั่งราก" วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าล่าสุดสนับสนุนความจริงที่กวี ศิลปิน รหัสยิก และวัฒนธรรมซึ่งให้ความสำคัญแก่แผ่นดินทั่วโลกได้ประกาศมากว่าพันปีว่า

ชีวิตบนโลกนี้เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างลึกล้ำ ร่างกาย ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณ ส่งผลต่อธรรมชาติทั้งมวล และธรรมชาติทั้งมวลก็ส่งผลกลับคืน ในเวลาวิกฤตเช่นนี้

เราจะอยู่บนโลกที่เรารักซึ่งกำลังเผชิญภัยอย่างไรจึงจะดีที่สุด

                  หนังสือเล่มใหม่ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงของ "ลีอันดา ลินน์ โฮปต์" นักเขียนมือรางวัล คือคำเชื้อเชิญอันชาญฉลาดให้อยู่กับโลกอย่างเรียบง่ายและลึกซึ้ง

จากการเดินเท้าเปล่าในป่า และจินตนาการความสัมพันธ์กับสัตว์และต้นไม้แบบใหม่ ไปจนถึงการตรวจสอบภาษาที่เราใช้อธิบายและคิดเกี่ยวกับธรรมชาติ เธอปลุกการอยู่

อย่างหยั่งราก ในฐานะวิถีการอยู่อย่างสอดคล้องกับป่าดง และความดิบเถื่อนที่ค้ำจุนมนุษย์และสรรพชีวิต

                  โฮปต์เขียนหนังสือเล่มนี้อย่างเร่งด่วน สง่างาม ตามขนบของราเชล คาร์สัน, อลิซเบธ โคลเบิร์ต และแมรี โอลิเวอร์ เตือนเราว่าที่จุดบรรจบของวิทยาศาสตร์

ธรรมชาติ และจิตวิญญาณนั้นมีความหวังที่แท้จริงอยู่ แต่ละบทมีเครื่องมือให้เราดึงพรสวรรค์เฉพาะตัวออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ และให้เราแปรเปลี่ยนสำนึกความเป็นส่วนหนึ่ง

อยู่ภายในมนต์วิเศษและความอัศจรรย์ของโลกธรรมชาติ

 

ผู้แต่ง : ไพศาล จิรานันตรัตน์

Call No. :  GF21 ฮ93 2564

 

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..