รักษ์รู้ รักษ์โลก : การเรียนรู้สหวัฒนธรรมผ่านวรรณกรรมสิ่งแวดล้อมภาษาอังกฤษ

หนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง "การเรียนการสอนวรรณกรรมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม"

ผู้เขียน ยกตัวอย่างการวิเคราะห์วรรณกรรมสิ่งแวดล้อม และแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เนันสร้างความเชื่อมโยงระหว่างวรรณกรรมต่างประเทศกับบริบทผู้เรียนในสังคมไทย ชื่อของแต่ละบทสะท้อนแนวคิดหลักของวรรณกรรมแต่ละเรื่องที่หนังสือเล่มนี้ต้องการนำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางเชื่อมโยงสู่เหตุการณ์ในสังคมไทยผ่านการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่ละบทเสนอมุมมองต่อสิ่งแวดล้อมจากจุดยืนที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

บทที่ 1 จินตนาการกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์

บทที่ 2 ความรักกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บทที่ 3 โลกทัศน์เชิงนิเวศในท้องถิ่นกับโลกาภิวัตน์

บทที่ 4 ท้องถิ่นและชุมชนที่ปนเปื้อน

บทที่ 5 นิเวศสำนึกในวิถีชีวิตร่วมสมัย 

ถึงแม้จะดูเหมือนว่า หนังสือเล่มนี้เน้นเรื่องการวิเคราะห์วรรณกรรม แต่ก็มีเนื้อหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจอยู่ไม่น้อย ผู้เขียนเรียบเรียงได้น่าอ่าน อ่านสนุก ถือเป็นแหล่งที่ทำให้ทราบถึงวรรณกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในอีกขั้น

ผู้แต่ง : วศินรัฐ นวลศิริ 

Call No. : PS169.E25 ว56 2562

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..