Paris Agreement ความตกลงปารีส (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ฉบับล่าสุด เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

“ความตกลงปารีส”

เป็น ภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "อนุสัญญา"
 
เป็นไปตาม ที่ประชุมเดอร์บันเพื่อการยกระดับการดำเนินงานซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยข้อตัดสินใจที่ 1/CP.17 ของที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา สมัยที่ 17
 
เพื่อให้บรรลุถึง วัดถุประสงค์ของอนุสัญญา และให้เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญา รวมถึงหลักการของความเป็นธรรม และความรับผิดขอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละภาคีตามสถานการณ์ของประเทศที่แตกต่างกัน
 
ตระหนักถึง ความจำเป็นในการตอบสนองที่มีประสิทธิผล และก้าวหน้าขึ้นต่อภัยคุกคามเร่งด่วนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่
 
อีกทั้งตระหนักถึง ความต้องการเฉพาะด้าน และสถานการณ์พิเศษของภาคีประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะภาคีประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเปราะบางอย่างยิ่งต่อผลกระทบทางลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญา
 
คำนึงอย่างเต็มที่ถึง ความต้องการเฉพาะต้าน และสถานการณ์พิเศษของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในด้านเงินทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
 
ตระหนักว่า ภาคีอาจได้รับผลกระทบ ไม่เฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย
 
เน้นย้ำ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงาน การดอบสนอง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับการเข้าถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม และการขจัดความยากจน 
 
ตระหนักถึง ความสำคัญพื้นฐานของการรักษาความมั่นคงทางอาหาร และกำจัดความหิวโหย และความเปราะบางอย่างยิ่งของระบบการผลิตอาหารต่อผลกระทบทางลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คำนึงถึง ความจำเป็นของการเปลี่ยนผ่านแรงงานที่เป็นธรรม และการสร้างงานที่มีคุณค่า และมีคุณภาพ ตามลำดับความสำคัญของการพัฒนาซึ่งกำหนดโดยแต่ละประเทศ
 
รับรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นข้อกังวลร่วมกันของมนุษยชาติเมื่อดำเนินการแก้ใขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคีควรเคารพส่งเสริม และพิจารณาพันธกรณีที่เกี่ยวข้องของตนในด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน เด็ก ผู้พิการทุพพลภาพ และกลุ่มคนในสถานการณ์เปราะบาง และสิทธิในการพัฒนา รวมถึงความเท่าเทียมกันทางเพศ การเสริมสิทธิสตรี และความเป็นธรรมระหว่างชนต่างรุ่น
 
ตระหนักถึง ความสำคัญของการอนุรักษ์ และการเพิ่มประสิทธิภาพตามความเหมาะสม ของการดูดชับ และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกตามที่กำหนดในอนุสัญญา
 
รับทราบ ความสำคัญในการประกันความสมบูรณ์ของทุกระบบนิเวศ รวมถึงมหาสมุทร และการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับในบางวัฒนธรรมในฐานะพระแม่ธรณี และรับทราบความสำคัญของบางแนวคิ
ของ "ความยุติธรรมด้านภูมิอากาศ" เมื่อดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
ยืนยันถึง ความสำคัญของการศึกษา การฝึกอบรม การตระหนักรู้ของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และความร่วมมือในทุกระดับ ในประเด็นที่ระบุไว้ภายใต้ความตกลงนี้
 
ตระหนักถึง ความสำคัญของการดำเนินการของหน่วยงานทุกระดับของรัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ตามกฎหมายภายในประเทศของภาคี ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
อีกทั้งตระหนักว่า วิถีชีวิตที่ยั่งยืน และรูปแบบที่ยั่งยืนของการบริโภค และการผลิต มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยภาคีประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นผู้นำ
 
หยิบตัวเล่มเพื่อดูข้อตกลงกันได้ที่ ชั้น 5 หอสมุดค่ะ

ผู้แต่ง : จัดทำโดย คณะทำงานเจรจาสำหรับการประชุมภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Call No. : QC981.8.G56 ป64 2561

 

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..