เปลี่ยนขยะเป็นทอง

หนังสือเรื่องเปลี่ยนขยะเป็นทอง หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Waste to wealth เป็นวิธีการหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือการใช้ศิลปะบวกกับวิทยาศาสตร์ สร้างสิ่งซึ่งเป็นที่ต้องการและมีค่าสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง โครงการเปลี่ยนขยะเป็นทอง เป็นโครงการที่เกิดจากแนวคิดด้านบัญชีการเงินที่อยู่ในใจของผู้ผลิต เมื่อมีการผลิตสินค้าแล้ว ก็จะเกิดสิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ของผู้ผลิต และนั่นคือภาระที่ทำให้ผู้ผลิตต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านการจัดเก็บและกำจัด แต่หากแปลงเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านั้นให้กลับมามีคุณค่าใหม่ และเป็นที่ต้องการของตลาด จึงเป็นที่มาของโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทองนั่นเองค่ะ

การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้ มีคุณค่าที่ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ ผสมผสานกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อจะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในหลักการ 3 R คือ Reuse, Reduce และ Recycle

นอกเหนือจากการนำเศษวัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์ แต่ยังช่วยโลก ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง ลดขยะที่เกิดขึ้นจากการผลิตอีกด้วย มาติดตามอ่านกันว่าโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทอง เค้าทำอย่างไรกับเศษวัสดุเหลือใช้ดังกล่าวค่ะ

ผู้แต่ง : สิงห์ อินทรชูโต

Call No. : NB198.5.J84 ส62 2553

 

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..