โลกร้อน : สัญญาณแห่งหายนะ

หนังสือเรื่อง โลกร้อน : สัญญาณแห่งหายนะ เขียนโดย ดาณุภา ไชยพรธรรม เนื้อหาแบ่งเป็นตอน ๆ กล่าวถึง ดาวเคราะห์สีฟ้า โลกกำลังเปลี่ยนไป สภาวะโลกร้อน พิธีสารเกียวโต สัญญาณเตือนจากโลกและสภาวะโลกกับคำพยากรณ์

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่หายไป และเปลี่ยนเป็นวิถีชีวิตยุคใหม่ ที่ผู้คนพรั่งพร้อมไปด้วยความสะดวกสบาย  อาศัยเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์พยายามสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ และเป็นค่านิยมที่บ่งบอกถึงฐานะ ความทันสมัย และเป็นชีวิตที่มีความสุข ไม่ต้องลำบากยากเย็นกับการมานั่งทำอะไรต่ออะไรด้วยมือ รังเกียจวิถีชีวิตที่ล้าสมัย โดยลืมนึกไปว่าสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเหล่านั้น ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และผลักดันให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์และพืช รวมถึงตัวมนุษย์เอง

เนื้อหากล่าวและชี้ให้เห็นว่าดาวเคราะห์สีฟ้า เดิมนั้นเป็นอย่างไร เมื่อโลกเปลี่ยนเกิดอะไรขึ้นบ้าง สภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไร รวมไปถึงวิถีชีวิตของพืชและสัตว์ล้วนได้รับผลกระทบเช่นไร หนังสือเล่มนี้มีคำตอบให้ท่านได้ค้นหาเรื่องราวที่เชื่อมโยงกันอย่างน่าตกใจ มาเถอะค่ะ มาอ่านเติมความรู้ และเป็นส่วนหนึ่งของการหยุดทำลายโลกของเราค่ะ

ผู้แต่ง : ดาณุภา ไชยพรธรรม

เลขเรียกหนังสือ : QC981.8.C56 ด63 2550

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..