การพัฒนาประเทศและการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตที่สูงขึ้น, การใช้พลังงานในกิจกรรมของมนุษย์, กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, การจัดการของเสีย ฯลฯ เป็นสาเหตุให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก จึงเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่รุนแรงทั่วโลก
หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 2 เรื่อง ได้แก่
เรื่องที่ 1 การศึกษาการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศไทย ซึ่งมี 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพโดยมีต้นทุนต่ำ และแนวทางการเพิ่มความเป็นธรรม
เรื่องที่ 2 การกำหนดมาตรการภายในประเทศโดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เพื่อรองรับมาตรการทางการค้าและมาตรการด้านโลกร้อน เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์มาตรการทางเศรษฐศาสตร์สำหรับสาขาการผลิตที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เช่น มาตรการภาษี, มาตรการการตลาดคาร์บอน, มาตรการส่งเสริมภาคเอกชน และมาตรการระดับการค้าระหว่างประเทศ เช่น มาตรการปรับค่าคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน, มาตรการส่งเสริมภาคเอกชน รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะด้านมาตรการเศรษฐศาสตร์ในภาพรวม
ประเทศไทยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และพัฒนาประเทศด้วยวิถีทางเศรษฐศาสตร์ไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้มีคำตอบให้คนไทยทุกคนค่ะ
ผู้แต่ง : นิรมล สุธรรมกิจ
Call no. : QC981.8.C5 น64 2555