(ไม่ใช่)ขยะ

(ไม่ไช่) ขยะ

 

ถ้าบางครั้งเรามองตัวเองไม่เห็น ลองให้คนอื่นช่วยมองก็อาจจะทำให้เราเห็นตัวเองได้ชัดขึ้น หนังสือเล่มนี้เขียนโดย พอล คอนเนต ชาวอังกฤษ เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเซนต์ลอว์เรนซ์ รัฐนิวยอร์ก เขาทุ่มเททำการวิจัยเรื่องการจัดการการของเสียโดยเฉพาะประเด็นทางวิชาการที่เกี่ยวกับการปล่อยสารพิษไดออกซินจากโรงงานเผาขยะซึ่งปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ สิ่งที่เขามองเห็นน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เขากล่าวถึงเรื่องของการกำจัดของเสีย เรื่องการจัดการวัสดุเหลือใช้ และบทบาทของวิทยาศาสตร์ในยุคโลกาภิวัฒน์

อ่านแล้วจะพบคำตอบที่ว่าโรงงานเผาขยะเป็นทางเลือกการกำจัดของเสียที่ล้าหลัง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นติดได้จาก

บทแรก ของเล่มนี้ การเผาขยะมูลฝอยเทศบาล วิธีการจัดการของเสียที่ไม่เหมาะสมสำหรับศตวรรษที่ 21

บทที่ 2  การเผาของเสียทางการแพทย์ : ความผิดพลาดที่เกิดจากวิธีการแก้ไข แก้ไขกันอย่างไร จึงทำให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นต้องติดตาม

บทที่ 3 ทางเลือกใหม่ในการจัดการวัสดุเหลือใช้ เรื่องนี้ทางออกที่แท้จริงควรเริ่มตั้งแต่ การคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด ในกองขยะมีของเหลือใช้ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้อีก

หากเราได้คัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัด ขยะก็คงไม่มี หรือ มีก็น้อยมาก

บทสุดท้าย การบริโภคเกินความจำเป็น ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความอยู่รอดบนโลกซึ่งมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด เราต้องกำจัดอะไรออกไปบ้าง

ท้ายเล่มมีภาคผนวก ที่จะทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ จากเนื้อหาได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

ผู้แต่ง : พอล คอนเนต ; ธารา บัวคำศรี, บรรณาธิการ


Call No. : TD791 ค53 2545

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..