กินกู้โลก

กินกู้โลก : ตีแผ่ผลจากการกินทิ้งกินขว้างที่คุณต้องตะลึง 

 

ยังไม่เปิดเล่มอ่านเลย...อ่านแค่คำโปรยที่ปกหลัง ก็น่าสนใจแล้ว

เชื่อหรือไม่ นิสัยบริโภคล้างผลาญของประเทศรวยก่อวิกฤตอาหารโลก เกษตรกร ผู้ผลิต ซูเปอร์มาร์เก็ต และผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือ และ ยุโรป...ผลาญอาหารทิ้งกว่าครึ่ง เป็นปริมาณมากพอที่จะเลี้ยงผู้คนอดอยากหิวโหยทั่วโลกได้อย่างน้อย 3 รอบ ป่าไม้ถูกทำลายและก๊าซเรือนกระจกเกือบ 1 ใน 10 ปล่อยจากโลกตะวันตกเพื่อการเพาะปลูกพืชอาหารที่สูญเปล่าไม่ได้นำมาให้คนบริโภค

 

ญี่ปุ่น ผู้คนนิยมกินอาหารสดใหม่เกินเหตุ ทำให้มีการทิ้งอาหารแต่ละปีไปนับล้านตัน

 

อังกฤษ บรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารต่างๆ นำอาหารที่มีสภาพดีไปทิ้งถังขยะหากขายไม่หมด เพียงเพราะเหตุผลทางการตลาด นั่นคือถ้านำไปบริจาคจะทำให้คนไม่ยอมซื้อสินค้าของตนเพราะจะรอรับบริจาค อีกทั้งไม่ยอมลดราคาเพราะเกรงว่าต่อไปคนจะรอซื้อแค่ช่วงลดราคา การทิ้งถังขยะต้องแกะห่อหรือกล่องเพื่อให้อาหารสกปรก กินไม่ได้เพราะเกรงว่าคนจะคุ้ยขยะนำไปกิน บางรายถึงกับใส่กุญแจถังขยะ บรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตต่างทำสัญญาผูกขาดกับเกษตรกร โดยกำหนดรับซื้อเฉพาะพืช

ผัก ผลไม้ ที่มีขนาดและรูปทรงสวยงาม ทำให้เกษตรกรต้องนำผลผลิตที่ไม่เข้าเกณฑ์ไปฝังกลบ เนื่องจากซูเปอร์มาร์เก็ต ห้ามนำผลผลิตเหล่านั้นไปขายในราคาถูกให้กับผู้ซื้อรายอื่น

 

สจ๊วต...ตีแผ่ให้เห็นตัวอย่างความฟุ่มเฟือยที่น่ารังเกียจ และนำเสนอนวัตกรรมและแนวทางที่น่าประทับใจในการทำให้ดีที่สุดจากสิ่งที่มีอยู่ กินกู้โลก...จะทำให้คุณอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อเห็นแก่เพื่อนมนุษย์...โลก...และสิ่งแวดล้อม!

 

ผู้แต่ง : ทริสแทรม สจ๊วร์ต เขียน ; ปัญญา ชีวิน แปล


Call No. : TD195.F57 ส25 2555

 

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..