Page 36 - สงขลา
P. 36
36
อ าเภอที่ส าคัญในจังหวัดสงขลา
อ าเภอสทิงพระ
แต่ชาวบ้านลืมชื่อเดิมเสียแล้ว จึงแต่งนิทานขึ้นมาว่า มีคนจะ
เอาพระทิ้งที่คลองนั้น เลยเรียกว่าคลองจะทิ้งพระ และต านานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับจะเอาพระธาตุหรือเอาพระมาทิ้งไว้ นอกจากนี้ยังมีชื่อหมู่บ้าน
ต าบล อีกแห่งหนึ่งในแถบนั้นชื่อ "จะทิ้งหม้อ” หรือ “สทิงหม้อ” ใน
อ.สิงหนคร ชื่อนี้ในเอกสารเก่า ๆ เรียก “จทิงถมอ” ซึ่งเป็นค าภาษา
เขมรโบราณอีกเช่นกัน แปลว่าคลองหิน ซึ่งตรงนั้นก็มีชื่อ “คลองสทิง
หม้อ” อยู่ด้วย ภาษาเขมรที่ฝังรากลงในชื่อนามต่าง ๆ นี้เป็นชื่อที่เกิด
จากภาษาปากชาวเขมรที่เข้าไปตั้งภูมิล าเนาอยู่เรียกขานกันเองก่อนจะ
กลืนกลายเป็นภาษาไทยไปในเวลาต่อมา
จากหลักฐานพบว่าการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่
จังหวัดสงขลา เริ่มมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ
๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานส่วนใหญ่พบตามถ้ าและเพิงหินบนภูเขา
ทางด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ของจังหวัด พบภาชนะดินเผาแบบหม้อ
สามขา ภาชนะเผาลายเชือกทาบ ขวานหินขัด โครงกระดูกมนุษย์และ
สัตว์ในสมัยหินใหม่ฝังอยู่ในถ้ าและเพิงหินทางทิศเหนือของเขารักเกียรติ
ต าบลก าแพงเพชร อ าเภอรัตภูมิ พบภาขนะดินเผาลายเชือกทาบ ในสมัย
หินใหม่เป็นจ านวนมาก ที่เขารูปช้าง ต าบลปาดังเบซาร์ อ าเภอสะเดา
พบขวานหินขัดที่บ้านควนตูล อ าเภอเมือง ที่ต าบลบาโหย อ าเภอสะบ้า
ย้อย และที่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ