Page 20 - รายงานประจำปี ๒๕๕๘ ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์
P. 20

20




                         ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ศูนย์ฯ    ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยระยะท้ายที่ต้องมีการดูแลใน
                 ด้านอื่นๆร่วมด้วย จึงมีการนำาหลักการดูแลผู้ป่วยที่เรียกว่า palliative care มาปรับใช้ ซึ่ง

                 การรักษาแบบ palliative care เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสำาหรับผู้ที่ป่วยด้วย
                 โรคที่คุกคามต่อชีวิต ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่จำากัดว่าให้ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งหรือผู้
                 ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิตเท่านั้น แต่ใช้ได้กับผู้เจ็บป่วยทุกประเภทและเริ่มตั้งแต่วินิจฉัยโรค หลักวิธี

                 นี้มีเป้าหมายเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ไม่ใช่การรักษาที่ยืดชีวิตผู้ป่วย
                 หรือชะลอการเสียชีวิต  แต่เป็นการรักษาอาการเจ็บป่วยทางกายร่วมกับการรักษาอาการ
                 เจ็บป่วยทางใจ  โดยเคารพในสิทธิและความเป็นปัจเจกบุคคลของผู้ป่วย  ไว้วางใจซึ่งกันและ
                 กัน  เพื่อให้สามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย  ลดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย  และมี
                 คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำาได้ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ครอบคลุมทั้ง 4

                 มิติ คือ กาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอย่างมีความหมายมาก
                 ที่สุดจนถึงวันที่จากไป การดูแลแบบ palliative care จึงควบคู่ไปกับ curative treatment
                 การดูแลแบบ palliative care จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การดูแลตามอาการ (supportive

                 care)  ซึ่งสามารถกระทำาได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกระยะ  ตัวอย่างเช่น  การบรรเทาความเจ็บ
                 ปวด  แต่บทบาทที่สำาคัญแท้จริงแล้วนั้นมักจะอยู่ที่ช่วงปีสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย  และเมื่อถึง
                 ระยะท้ายของชีวิตผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ที่บ้าน  อาการต่างๆที่เกิดขึ้นมักจะมี
                 อาการรุนแรงมากขึ้น  แต่เนื่องด้วยข้อจำากัดหลายอย่างทำาให้ผู้ป่วยไม่สามารถมาพบแพทย์
                 ได้ทุกครั้งที่มีอาการ  การจัดการกับอาการต่างๆที่เกิดขึ้นบางครั้งครอบครัวหรือผู้ดูแลขาด

                 ความรู้หรือความมั่นใจไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้ป่วยได้  จะยิ่งส่งผลให้
                 ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความเครียดและวิตกกังวลกับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น  ทางศูนย์จึง
                                                ู
                                                 ่
                                                ้
                                          ่
                                             ่
                                                                                 ่
                                                                                 ื
                                                                                     ้
                                                        ั
                                                                          ้
                                                                           ้
                                                                                               ่
                                                                                        ่
                                                                                      ้
                 มการพฒนาระบบการสงตอผปวยไปยงโรงพยาบาลใกลบานเพอใหผปวยเหลานไดรบการ
                                                                                      ู
                                                                                                     ั
                   ี
                         ั
                                                                                                 ้
                                                                                                    ้
                                                                                                  ี
                 ดูแลอย่างต่อเนื่องมีคุณภาพและปลอดภัย จึงมีการติดต่อประสานงานไปยังโรงพยาบาลใกล้
                 บ้านให้ไปเยี่ยมติดตามอาการผู้ป่วยที่บ้าน  ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบล
                 (รพ.สต.)  จะมีทีมเยี่ยมบ้านอยู่แล้ว  เมื่อดำาเนินการติดต่อประสานงานดังกล่าวขึ้น  ทีมเยี่ยม
                 บ้านจะไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน  ดำาเนินการจัดการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วย  ให้คำาแนะนำาปรึกษา
                 ในการจัดการอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการดูแลตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยระยะ
                 ท้ายที่สำาคัญ  เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่กับความเป็นจริงและสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆโดย
                 ไม่รู้สึกว่าอยู่อย่างลำาพัง  ระบบการส่งต่อดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่เดือน  พฤศจิกายน  2558  ผู้
                 ป่วยและครอบครัวที่เข้าร่วมในระบบนี้จะได้รับการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องต่อไป
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25