คู่มือการรีไซเคิลของเสียภาคอุตสาหกรรม และแนวทางการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์

 น่าจะเป็นเรื่องดีถ้าเราจะสามารถนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก

 

แนวทางหนึ่งที่อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการรีไซเคิลของเสียจากภาคอุตสาหกรรมกลับมาใช้ประโยชน์ หรือการนำของเสียมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ทดแทนวัตถุดิบปกติ(การใช้วัตถุดิบรอบสอง) ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันแล้ว ยังช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

หนังสือเล่มนี้จะทำให้ท่านเข้าใจถึงกระบวนการรีไซเคิลของเสียในเบื้องต้นว่ามี เทคนิคหรือเทคโนโลยีอะไรบ้าง ที่สามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการรีไซเคิลของเสียต่าง ๆ ได้ และนำเสนอการรีไซเคิลของเสียบางประเภท ได้แก่ สเกลเหล็ก น้ำเสียที่มีไทเทเนียมเป็นองค์ประกอบ และหางแร่จากกระบวนการแต่งแร่ มาเป็นกรณีศึกษาให้ท่านได้เข้าใจถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการรีไซเคิลในการจัดการของเสียเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียนั้น 

ผู้แต่ง : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

Call No. : TD794.5 ค74 2564

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..