หนังสือเล่มนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
§ เนื้อหาเป็นการประมวลความรู้ในด้านลักษณะทางนิเวศอุทกวิทยา
ของแหล่งน้ำไหล ที่มีความจำเพาะในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเชื่อมโยง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า
จนกระทั่งถึงสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่เป็นผู้บริโภคในห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศทางน้ำ
§ ในหนังสือยังกล่าวถึงสภาวการณ์และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำที่นับวันจะรุนแรงขึ้น ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลง
ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุที่แหล่งน้ำผิวดินมีอยู่อย่างจำกัด§
และยังเป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำนานาชนิด
§ ผู้เขียนจึงมุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อการเชื่อมโยงและประยุกต์ความรู้ ไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งน้ำเชิงอนุรักษ์ เพื่อการ
ดูแลแหล่งน้ำให้คงคุณภาพที่ดีและสามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนานที่สุด
§ ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเชิงอนุรักษ์อย่างเหมาะสมนั้น จำเป็นต้องมีความรู้
ความเข้าใจในลักษณะทางธรรมชาติของแหล่งน้ำ ที่เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันจากพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
ลงมาจนถึงบริเวณปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นส่วนของแหล่งน้ำจืดตอนล่างสุด ก่อนที่จะออกสู่เขตทะเล ทั้งนี้
เพื่อสามารถอธิบายิสถานภาพและทิศทางความเป็นไปของแหล่งน้ำที่เกี่ยวข้องกับศักย์การผลิต
ทรัพยากรทางน้ำในแต่ละพื้นที่ได้
§ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นการเรียบเรียงและประมวลความรู้
และประสบการณ์การศึกษาวิจัยในพื้นที่แหล่งน้ำไหลประเภทต่าง ๆ ออกมาอย่างเป็นระบบ โดยให้
ความรู้พื้นฐานที่เป็นแนวคิดทฤษฎี ตลอดจนหลักการสำคัญ และสอดแทรกแนวคิดในการ
ประยุกต์ใช้ความรู้ พร้อมการยกตัวอย่างที่เป็นกรณีศึกษาในประเทศไทยมาประกอบ
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เริ่มด้วย
บทนำ
บทที่ 1 ที่กล่าวถึงลักษณะจำเพาะ คุณค่า และความสำคัญของแหล่งน้ำไหล ระบบนิเวศน้ำตกและลำธารตันน้ำ
บทที่ 2 ระบบนิเวศน้ำตกและลำธารตันน้ำ
บทที่ 3 ระบบนิเวศแม่น้ำ
บทที่ 4 ระบบนิเวศปากแม่น้ำ
บทที่ 5 การประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ความอุดมสมบูรณ์และมลภาวะของระบบนิเวศทางน้ำ
บทที่ 6 สถานการณ์ปัญหายูโทรฟิเคชันและแนวทางการจัดการภายใต้การประยุกด์ความรู้ด้านปัจจัยและฟังก์ชันที่มีอย่างเหมาะสม
บทที่ 7 นิเวศอุทกวิทยาและการจัดการเชิงอนุรักษ์
ผู้แต่ง : จารุมาศ เมฆสัมพันธ์
Call No. : QH95.A5 จ64 2564