เมื่อโลกไร้น้ำแข็ง (A world without ice)

     ในช่วง 300 ปีที่ผ่านมา ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สังคมอุตสาหกรรม และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ความหนาแน่นของคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ สูงเกินค่าตามธรรมชาติ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเคมีในชั้นบรรยากาศ  การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกได้ทำลายความมั่นคงของน้ำแข็งโลก ทำให้เกิดการสูญเสียธารน้ำแข็งบนโลก

     ธารน้ำแข็งมีความสำคัญต่อโลกมากมาย ช่วยกำหนดอุณหภูมิของบรรยากาศและมหาสมุทรทั่วโลก, ควบคุมรูปแบบภูมิอากาศ, สะท้อนแสงอาทิตย์, ปรับระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบต่อเกษตรกรรม, การคมนาคม, การค้า และภูมิรัฐศาสตร์

     การสูญเสียธารน้ำแข็งบนโลกที่สะสมตัวมาหลายล้านปี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของมนุษย์ หมายถึง การละลายของน้ำแข็งตามทวีปต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล (ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำที่อยู่ติดทะเล, ฝนแล้ง, พายุที่รุนแรง, การสูญเสียที่ดินและพื้นที่เกษตรกรรม, การปนเปื้อนของแหล่งน้ำจืดใต้ดิน, การแพร่กระจายของโรคระบาด ฯลฯ)  คาดว่าภายในสิบปีข้างหน้า มหาสมุทรอาร์กติกอาจไร้น้ำแข็งในฤดูร้อน

     เมื่อโลกไร้น้ำแข็ง โลกขาดความสมดุล หมีขั้วโลก นกเพนกวิน แมวน้ำ จะไร้บ้าน หิมะตกน้อยลง แม่น้ำจะเหือดแห้ง ผู้คนขาดแคลนน้ำสะอาด เกิดน้ำท่วม โรคระบาด การอพยพย้ายถิ่น ภัยธรรมชาติที่รุนแรง ฯลฯ พวกเราทุกคนคงไม่อยากให้ถึงวันนั้น หนังสือเล่มนี้มีวิธีที่จะช่วยกู้โลกได้ค่ะ โปรดอ่าน… เพื่อโลกของเรา

 

ผู้แต่ง : Henry Pollack 

Call no. : GB2405 พ54 2554

 

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..