Page 5 - สงขลา
P. 5
5
การศึกษาชื่อบ้านนามเมืองหรือนามสถาน นับว่ามีประโยชน์
ไม่น้อย เพราะนอกจากจะท าให้ทราบความหมายและที่มาของชื่อชุมชน
แล้วยังช่วยให้เข้าใจวิถีการด าเนินชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ของ
ชาวบ้านหรือผู้คนในชุมชนนั้นอีกด้วย แม้สภาพสังคมและสภาพภูมิ
ประเทศจะเปลี่ยนแปลงไป ชื่อเหล่านั้นก็ยังสะท้อนภาพความเป็นอยู่
้
ของสังคมยุคเดิมได้ ยิ่งถ้าได้ศึกษาวิเคราะห์โครงสรางของชื่อบ้านนาม
เมืองด้วยก็ยิ่งท าให้เห็นลักษณะของค าที่ใช้ในการตั้งชื่อได้ชัดเจนขึ้น
ไม่ว่าชื่อนั้นจะเป็นค าพยางค์เดียว ค าประสม หรือกลุ่มค าที่น ามาเรียง
กัน นอกจากนั้นยังท าให้เห็นถึงรากหรือที่มาของค าที่น ามาใช้ตั้งชื่อได้
อีกว่าเป็นค าไทยแท้ ค าประสม หรือค าที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น
ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็น
ภูมิปัญญาของชาวบ้านรุ่นแรก ๆ ที่ตั้งชื่อบ้านนามเมืองได้อีกโสดหนึ่ง
ซึ่งปัจจุบันเราถือเป็นสารสนเทศท้องถิ่นที่มีค่าอย่างยิ่งในสังคมยุค
โลกาภิวัตน์
ศ. สุธวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้กล่าวถึงสารสนเทศชื่อบ้านนาม
ิ
เมืองหรือนามสถานไว้ในหนังสือ “โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรม
้
ภาคใต้กับการพัฒนา” ไว้ว่า นามสถานเป็นสิ่งบ่งชี้โครงสรางและ
พลวัตวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น เนื่องจากนามสถานตั้งขึ้นเพื่อให้
สังเกต จ าหมาย เรียกขานได้ตรงกัน ใช้สื่อสารสัมพันธ์ร่วมกัน
สารสนเทศท้องถิ่น : สงขลา