Page 18 - รายงานประจำปี ๒๕๕๔ มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
P. 18
โครงการกลุ่มศรีตรังจิตสัมพันธ์ (Day Hospital) (โดยภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มอ.)
การรักษาโรคทางจิตเวชมีอุปสรรคสำคัญคือ ผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองป่วย จึงปฏิเสธการรักษา
ปฏิเสธการกินยา หรือหยุดยา หรือลดยาเองเมื่ออาการเริ่มดีขึ้น และเมื่อเชิญชวนผู้ป่วยมาร่วมกิจกรรม
จิตวิทยาสังคมบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้ป่วยก็มักไม่มา ผลคือ ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำๆ ทำให้การ
พยากรณ์โรคแย่ลงและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนอาจถึงขั้นดูแลตนเองไม่ได้และตัดขาดจากสังคมในที่สุด
ดังนั้นการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชจึงต้องมีความต่อเนื่อง คือเมื่อผู้ป่วยรับการรักษาที่โรงพยาบาลจน
อาการดีขึ้นและได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ เขาควรมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อบำบัดด้านจิตใจ สังคม 21
บำบัดรักษา มีทักษะในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง ควบคู่การฟื้นฟูพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ต่อยอด
ไปถึงทักษะที่จำเป็นในการทำงาน จากการสังเกตพบว่าการที่ผู้ป่วยจิตเวชได้พบปะแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์กับผู้ป่วยเก่าที่มีประสบการณ์เจ็บป่วยทางจิตเวชแต่อาการดี ไม่ป่วยซ้ำ กินยาต่อเนื่องและ
บางคนสามารถทำงานได้ รวมทั้งผู้ป่วยอื่นๆ ทั้งที่ป่วยด้วยโรคเดียวกันหรือต่างกัน ทำให้ผู้ป่วยเกิด
ความหวังและมีกำลังใจที่จะดูแลตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มั่นใจว่าตนมีความสามารถเป็นการเพิ่ม
ความแข็งแรงแก่จิตใจ มูลนิธิ รพ.มอ. ตระหนักถึงผลดีของกิจกรรมที่มีต่อผู้ป่วย จึงได้สนับสนุน
โครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นชุมชนที่ให้ความเข้าใจ ให้การยอมรับ เสริมสัมพันธภาพที่ดี ก่อให้เกิดความหวัง
และกำลังใจแก่ผู้ป่วยในการรักษาและฟื้นฟูสภาพ และเมื่อผู้ป่วยมีศักยภาพเพิ่มขึ้นก็จัดต่อยอดให้ได้
เรียนรู้ ฝึกทักษะพื้นฐานการทำงานจากวิทยากรภายนอกควบคู่ไปด้วยกัน การดูแลที่ต่อเนื่องกันนี้จะ
เป็นการเพิ่มกำลัง (empowered) ให้ผู้ป่วยจิตเวชพึ่งพิงตนเองได้มากขึ้น รายงานประจำปี 2554 : มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
โครงการกลุ่มบำบัดสำหรับผู้ป่วยแอลกอฮอล์ “เพื่อนกัน วันสุข” (โดยภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มอ.)
Alcohol Dependence เป็นโรคอันดับสองของโรคที่พบได้บ่อยในหอผู้ป่วยจิตเวช รพ.มอ. รองมาจาก
โรคอารมณ์สองขั้วและจิตเภท ผู้ป่วยแอลกอฮอล์ที่มาเข้ารับการรักษาส่วนใหญ่มีแรงจูงใจและมีความ
มุ่งมั่นที่ต้องการจะหยุดดื่ม แต่เมื่อได้จำหน่ายจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม
การดื่มของตนเองต่อได้ เนื่องจากพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์มีปัจจัยทั้งผู้ป่วยเองและปัจจัยทางสังคม
ที่เกี่ยวข้องเป็นตัวเสริมที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการดื่มจนต้องกลับมาเข้ารับการรักษาซ้ำ
การดูแลรักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ดังนั้นในการบำบัดรักษาจะต้องให้การดูแลแบบ
องค์รวมคือทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมไปพร้อมๆ กัน โดยทีมสหวิชาชีพ ซึ่งภาควิชา
จิตเวชศาสตร์ รพ.มอ. ได้ทบทวนและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องจนเป็น
รูปธรรมที่ชัดเจนและมีกลุ่มบำบัด สำหรับผู้ป่วยแอลกอฮอล์โดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อ “เพื่อนกันวันสุข”
ดำเนินการทุกวันศุกร์ เวลา 09.00-11.30 น. เน้นการบำบัดแบบ Solution Focus ที่ให้ผู้ป่วยรับรู้สิ่งที่
เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันวางแผนอนาคตและแนวทางที่จะไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จ ผู้ป่วยสามารถ
ควบคุมพฤติกรรมการดื่มของตนเอง และได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมที่เอื้อต่อการควบคุมพฤติกรรม
การดื่ม ตลอดจนสร้างเครือข่ายทางสังคม เพื่อการดูแลผู้ป่วยติดสุรา สามารถหยุดดื่มได้ต่อเนื่องเมื่อ
กลับไปดำเนินชีวิตประจำวันในชุมชนของตนเอง
สำหรับวันศุกร์สุดท้ายของแต่ละเดือนจะมีกิจกรรมพิเศษ “สุข สังสรรค์” ที่ตอบสนองความ
ต้องการของผู้ป่วย ด้วยการเพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากแอลกอฮอล์ การเสริมทักษะ
ชีวิตโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยาย สนทนา ตอบข้อสงสัย รวมทั้งการเชิญชวนผู้ป่วยแลกเปลี่ยน
เรียนรู้นอกสถานที่ ผ่านประสบการณ์จริงและกระชับความสัมพันธ์ให้เกิดความเหนียวแน่น
ร่วมมือร่วมใจระหว่างผู้ป่วย