Page 17 - รายงานประจำปี ๒๕๕๔ มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
P. 17

2.2  สนับสนุนโครงการต่างๆ ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์  141,274.00  บาท

                                      ิ
                                                 ่
                                                      ็
                                                         ่
                              โครงการกจกรรมการเลนในเดกปวย  (โดยพยาบาล/ผู้ช่วยพยาบาล/เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยเด็ก รพ.มอ.)
                         วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องได้รับการเลี้ยงดู เอาใจใส่และได้รับการส่งเสริม สนับสนุนที่เหมาะสม เพื่อมุ่งเน้น
                         ส่งเสริมการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการด้านต่างๆ ได้อย่างสมวัย ทั้งทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม
                         และสติปัญญา ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก  แต่เมื่อเด็กต้องเจ็บป่วย

     20                  จนต้องเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก ขณะเผชิญกับภาวะเจ็บป่วย
                         และสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ  คนแปลกหน้า เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรักษา ทำให้เด็กเกิดความเครียด

                         และวิตกกังวล จึงจัดให้มีห้องเล่น ของเล่น และกิจกรรมการเล่น เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ความ

                         สนุกสนาน เกิดการกระตุ้นพัฒนาการ และได้รับความร่วมมือในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ทำให้เกิด
       รายงานประจำปี 2554 : มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
                         สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยเด็ก ญาติ และผู้ให้การรักษา ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
                         “การบริการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย”   เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2550  ของภาควิชา

                         กุมารเวชศาสตร์ มูลนิธิฯให้การสนับสนุนเพื่อทำให้ผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีคุณภาพ

                         ชีวิตที่ดี และเป็นการเพิ่มมาตรฐานในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยต่อไป



                              โครงการบริการวิชาการแก่บุคคลทั่วไป “รู้รักษ์ รู้บริโภค พิชิตโรคมะเร็งลำไส้”  (โดยภาควิชา

                         ศัลยศาสตร์ มอ./ทีมพยาบาลดูแลผู้ป่วยทวารเทียม)

                              เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าโรคมะเร็งมีความสัมพันธ์กับอาหาร โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่และ
                         ลำไส้ตรง  ผู้ป่วยมักกังวลในเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะกลัวภาวะโรคจะลุกลาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่

                         จึงมีการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยมักมีการจำกัดอาหารหลายชนิดซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะ

                         ขาดสมดุลของสารอาหารได้  โดยเฉพาะในผู้ป่วยบางรายที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด รวมถึงต้องมีการรักษา

                         ต่อเนื่อง เช่น ได้ยาเคมีบำบัด และ/หรือ การฉายแสง  มูลนิธิ รพ.มอ.จึงได้สนับสนุนโครงการนี้  เพื่อ
                         ให้ผู้ป่วย ครอบครัวกลุ่มนี้ และผู้สนใจได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร

                         ที่เหมาะกับสภาวะโรค  ทั้งก่อนและหลังการรักษาด้วยการผ่าตัด รวมทั้งระหว่างการรักษาด้วยยา

                         เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22