งานวิจัยเล่มนี้นำเสนอเรื่อง 1) หลักการในการจัดสรรภาระความรับผิดชอบต่อก๊าซเรือนกระจก 2) การประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมหลัก 3) การประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรมด้วยเครื่องมือ Input- Output table 4) บทสรุปนัยยะทางนโยบาย
เป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์เป็นต้นเหตุหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้เชื้อเพลิง พลังงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างฟุ่มเฟือยมานานกว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในปี ค.ศ. 1992 กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ก็ได้มีมติรับรองพิธีสารเกียวโต เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งแนวทางการแบ่งภาระความรับผิดชอบต่อก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ภายใต้ระบบของพิธีสารเกียวโต เสนอแนวคิดในการคำนวณภาระความรับผิดชอบต่อก๊าซเรือนกระจกสองแนวทาง ได้แก่ การคำนวณภาระความรับผิดชอบตามสัดส่วนของความเป็นเจ้าของหน่วยผลิต และภาระความรับผิดชอบตามสัดส่วนของการบริโภค และยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่น่าสนใจมากมาย รอให้ท่านมาอ่านในงานวิจัยเล่มนี้ อย่ารอช้าค่ะ
ผู้แต่ง : ชยันต์ ตันติวัสดาการ
Call no. : TD885.5.G73 ช46 2552