Page 11 - อัตลักษณ์ผ้าถิ่น ศิลป์สตูล ดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดสตูล
P. 11

ลายผ้าเอกลักษณประจ าจังหวัดสตูล
                                                      ์

                 ผ้าบาเต๊ะโบราณ ชื่อลาย “ดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล”




                                                               สืบเนื่องจากชาวสตูลในสมัยอดีตนั้น

                                                           ได้รับอิทธิพลด้านการแต่งกายจาก

                                                           เชื้อชาติมลายู ชาวจีน ชาวเปอร์เซีย

                                                           อินโดนีเซีย และประเทศจากทวีปยุโรป

                                                           โดยเฉพาะการแต่งกายจะใช้ผ้าลายใบไม้

                                                           ด อ ก ไ ม้ ต า ม ธ ร ร ม ช า ติ ที่ มี

                                                           ความหลากหลายรูปแบบและสีสัน มานุ่ง

                                                           หรือสวมใส่เป็นผ้าถุง

                                                               ลายดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล

                                                           เกิด จา กก า ร น า ล า ย ดา วน์ บูดิ ง

                                                           มาผสมผสานกับลายฟอสซิลหอยในพื้นที่

                                                           จังหวัดสตูล ลายดาวน์บูดิงที่ปรากฏบน

                                                           ผืนผ้า เป็นลวดลายคล้ายซุ้มดอกไม้

                                                           โบราณชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย

         โดยส านักงานประวัติศาสตร์ประเทศมาเลเซียได้สันนิษฐานว่าดอกไม้ที่ปรากฏบนผืนผ้า

         คือ ดาวน์บูดิง (Daun Buding) (ดอกบูดิง) มาจากภาษามลายู หรือ ดาวน์บูดี  (Daun Budy)

         (ดอกบูดี) มาจากภาษาอินโดนีเซีย ดอกไม้ชนิดนี้พบมากในคาบสมุทรมลายูมีลักษณะ

         คล้ายดอกสายหยุด ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม

                                                                                        ็
         หรือมีติ่งแหลม ประเทศในแถบคาบสมุทรมลายูนิยมน าดอกไม้ชนิดนี้มาท าเปนซุ้มดอกไม้
         เพื่อใช้ในพิธีต้อนรับบ่าวสาวในงานแต่งงาน จึงกล่าวได้ว่าดอกไม้ชนิดนี้ถือเป็นดอกไม้

         มงคลของชาวมลายูโบราณ ส่วนลายฟอสซิล เป็นการน าลายฟอสซิลในอุทยานธรณีสตูล

         ซึ่งได้รับประกาศให้เป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 5

         ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยูเนสโก ทางกลุ่มผ้าปันหยาบาติกจึงได้น าลวดลาย

         ดาวน์บูดิงและฟอสซิลหอยในมหายุคพาลีโอโซอิก (อายุประมาณ 299-542 ล้านปี)

         มาผสมผสาน เป็นลวดลายผ้าที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดสตูล



         10 อัตลักษณ์ผ้าถิ่น ศิลป์สตูล “ดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล”
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16