Page 6 - ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี
P. 6
นอกจากนี้ อาจารย์พิชัย แก้วขาว ยังได้ทำการสัมภาษณ์คุณยายแหะหวอ หวังหมัด
อายุ ๙๔ ปี และคุณยายมารีแย นิสาแล อายุ ๑๐๐ ปี คุณยายทั้งสองคนเป็นช่างทอผ้าที่ยังคง
อนุรักษ์และทอผ้าพื้นเมืองบางชนิดของปัตตานีได้อยู่ในขณะนั้น ท่านกล่าวว่าในสมัยของ
ท่าน ผู้หญิงชาวมุสลิมในท้องถิ่นในสมัยนั้นจะนุ่งผ้าที่ทอขึ้นมาเองกันทั้งสิ้น โดยมีทั้งเป็น
ผ้าพื้นและผ้าตาเช่นเดียวกับผ้านุ่งของผู้ชาย ส่วนผ้าปาเต๊ะนั้นมานุ่งกันก่อนสงครามญี่ปุ่นไม่นาน
สุภาพสตรีชาวมุสลิม นุ่งผ้าโสร่งแปลแก๊ะ (๑) ลักษณะการนุ่งผ้าแบบเลื้อยชาย (๒)ลักษณะการนุ่งผ้าจวนตานีทับกางเกงขายาว
ซึ่งเป็นผ้าทอมือในท้องถิ่น
ลักษณะการใช้สอยผ้าจวนตานี
เนื่องจากผ้าจวนตานี เป็นผ้าชั้นสูงมีราคาแพงมาก ผู้ที่เป็นเจ้าของจะหวงแหนและทะนุถนอม
ผ้าจึงถูกนำมาใช้เฉพาะงานสำคัญเท่านั้น สุภาพสตรีชาวมุสลิมจะใช้ทำเป็นผ้าสไบพาดไหล่
หรือคลุมศีรษะ ใช้เป็นผ้ากระโจมอก สำหรับสุภาพบุรุษจะใช้เป็นผ้านุ่ง ผ้านุ่งปิดทับกางเกงขายาว
ใช้เป็นผ้าคลุมศพสำหรับชาวมุสลิมที่มีฐานะ ในกลุ่มชาวพุทธจะนิยมใช้แต่งกายออกงาน สุภาพบุรุษ
จะใช้เป็นผ้านุ่งเลื้อยชาย หรือใช้เป็นผ้าพาดเฉวียงบ่าสำหรับสตรีสูงอายุ ใช้เป็นผ้าแต่งตัวให้กับนาค
ใช้เป็นผ้าคลุมปากโลงศพ