Page 5 - ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี
P. 5
ความสำคัญทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ้าจวนตานี
ผ้าจวนตานีเป็นผ้าที่ช่างทอพื้นถิ่นจะต้องทอขึ้นมาในลักษณะทั้งที่เป็นผ้าพื้นและผ้าตา เพื่อใช้ในการนุ่งห่ม
ประจำวัน โดยสามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย นอกจากนี้เมื่อมีพิธีการต่างๆ เช่น การนุ่งห่มเมื่อเข้าร่วมขบวนแห่
ซึ่งพอจะกล่าวถึงร่องรอยที่แสดงถึงความสำคัญทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นของผ้าจวนตานี ได้ดังนี้
จากการศึกษาภาพถ่ายโบราณที่ อาจารย์พิชัย แก้วขาว ได้รวบรวมไว้ ซึ่งเป็นภาพถ่ายของผู้คนในท้องถิ่น
ที่อยู่ในช่วงระหว่าง รัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗ พบว่าผู้ชายชาวมุสลิมที่ปรากฏอยู่ในภาพเหล่านั้นส่วนใหญ่จะนุ่ง
ผ้าโสร่งทอมือพื้นบ้านลายตาหมากรุกหรือที่เรียกกัน
ในกลุ่มชาวพุทธว่า “ผ้าตา” ซึ่งเรียกกันในกลุ่ม
ชาวมุสลิมว่า “ผ้าแปลแก๊ะ” หรือ “ผ้าปะไลกั๊ต”
และจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๗
ซึ่งถ่ายที่บริเวณสนามหน้าเมืองปัตตานีเนื่องใน
โอกาสเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดพระเนตร
สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนั้น (๙ พ.ค. ๒๔๗๒)
ซึ่งในภาพเป็นขบวนแห่บายศรีรับเสด็จของสุภาพ
สตรีชาวเมืองปัตตานี ปรากฏว่าเป็นภาพของผู้เข้า
ร่วมขบวนแห่ ที่มีการนุ่งโสร่งซึ่งมีทั้งผ้าพื้น ผ้าลายตาหมากรุก การนุ่งห่ม “ผ้าจวนตานี” ของผู้คนในท้องถิ่น
และผ้าอื่นๆ รวมทั้งผ้าปาเต๊ะด้วย แต่ผ้าปาเต๊ะนั้นจะมีอยู่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยืนอยู่ในขบวนที่มองเห็นได้ในภาพถ่าย
การนุ่งห่มผ้าจวนตานีในขบวนแห่บายศรี รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวของชาวเมืองปัตตานี
เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้น ณ เมืองปัตตานี (๙ พ.ค. ๒๔๗๒)