Page 3 - ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี
P. 3

นอกจากจะเป็นแหล่งรวมผ้านานาพรรณจากต่างแดนด้วยแล้ว ช่างทอผ้าของเมืองปัตตานี
             เองก็คงจะมีฝีมือในการทอผ้าได้ดีไม่ด้อยไปกว่าช่างทอผ้าบ้านใกล้เมืองไกลอื่นๆ จากการ

             ที่มีความรู้และมีพื้นฐานในฝีมือการทอผ้าที่อยู่ในระดับดีมาก่อน บวกกับเทคนิคการทอผ้า
             ชั้นสูงที่ช่างทอผ้าเมืองปัตตานีได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อค้าผ้า หรือช่างทอผ้าชาวต่างชาติ
             โดยตรงที่ได้เข้ามาค้าขายติดต่อสัมพันธ์กับปัตตานีมาแต่ครั้งโบราณก็เป็นไปได้ ที่เป็นปัจจัย

             ทำให้ช่างทอผ้ามีฝีมือสูงและผ้าที่ทอได้มีคุณภาพเยี่ยมเป็นที่เลื่องลือจนเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว
             แม้กระทั่งในราชสำนักของกรุงสยามทั้งในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ในชื่อของ “ผ้าจวนตานี”

             และผ้ายกตานี

              ศิลปะและภูมิปัญญาผ้าจวนตานี

                      จากหลักฐานทางเอกสารโบราณที่ชาวต่างชาติหลายชาติได้บันทึกเอาไว้ทำให้ทราบ
              ว่าเมืองปัตตานีแห่งนี้ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวจีน อินเดีย และอาหรับทั้งในด้านการค้า
              และวัฒนธรรมอารยธรรมมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่ครั้งอาณาจักรลังกาสุกะมาจนกระทั่งถึง

              ยุคสมัยของเมืองปัตตานีดารุสลัม ทั้งจีน อินเดียและอาหรับเป็นชาติที่มีช่างฝีมือในการทอ
              ผ้าชั้นสูงมีฝีมือเป็นเลิศอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ช่างเหล่านี้ได้ทำการทอผ้าชั้นสูงประเภทต่างๆ

              ทั้งผ้าไหมแพรพรรณ ผ้ายกดิ้นเงินดิ้นทองส่งเป็นสินค้าออกไป ทั่วภูมิภาคเอเชียและยุโรป
              มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จากการที่ปัตตานีได้เคยติดต่อกับชาติเหล่านี้มาเป็นเวลาช้านานจึง
              มีความเป็นไปได้ที่จะกล่าวว่าชนชาติดังกล่าวอาจจะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคนิคในการทอผ้าชั้น

              สูงบางประการให้แก่ช่างทอผ้าเมืองปัตตานีโดยตรงนั้นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็สันนิษฐาน
              ว่า ช่างทอผ้าเมืองปัตตานีอาจจะได้รับการถ่ายทอดเทคนิคการทอผ้าชั้นสูงจากอินเดียและ

              อาหรับ โดยผ่านช่างทอผ้าชาวชวา สุมาตรา และช่างทอผ้าชาวมาลายู ตามหัวเมืองต่างๆ
              บริเวณปลายแหลมมลายูอันได้แก่ ยะโฮร์ ปาหัง ตรังกานู และกลันตัน แล้วจึงเข้ามาสู่เมือง
              ปัตตานีในที่สุด ทำให้ผ้าจวนตานี ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของช่างทอผ้าพื้นเมืองของเมือง

              ปัตตานี มีลักษณะของการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ กับเทคนิคการทอผ้าของท้องถิ่น
              ที่มีอยู่ดั้งเดิม อาทิ การได้รับอิทธิพลจากผ้าปโตลาของอินเดีย ในด้านของรูปแบบลวดลาย

              และสีสัน ทำให้ผ้าจวนตานี หรือลีมาจวน จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับผ้าไหมลีมาของอินเดีย
              โดยมีลักษณะของการทำเป็นลวดลายร่อง (แถบ) ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เต็มตลอดทั้งผืน
   1   2   3   4   5   6   7   8