Page 2 - ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี
P. 2
จังหวัดปัตตานี
ผ้าจวนตานี หรือเรียกว่า ผ้าล่องจวน เป็นผ้าที่ปรากฏ
ตามพระราชนิพนธ์ดาหลัง ของพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ จากคำบอกเล่าของผู้รู้
ที่ได้ทำการสืบร่องรอยของผ้าจวนตานี ได้ให้ข้อมูล
ไว้ว่า ผ้าจวนตานีมีอยู่ ๒ ชนิด เป็นผ้ามัดหมี่ชนิดหนึ่ง
โดยแต่เดิมนั้นใช้เชือกกล้วยตานีนำมาใช้ในการมัดหมี่
อีกชนิดหนึ่งเป็นผ้ายกสอดดิ้นเป็นลวดลาย
คำว่าจวนเป็นการเพี้ยนเสียงจากคำเดิมคือ
จูวา เมื่อเสียงพูดเร็วๆ จึงเพี้ยนมาเป็น จวน และคำ
ว่าจวนนั้นหมายถึงการมาเจอกัน หรือพบกัน ซึ่งหมายถึง
ในส่วนของผ้าที่เป็นตัวผ้าและเชิงผ้าซึ่งมาเจอกัน
ผ้าจวนตานี ที่มา : สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
ถิ่นกำเนิดผ้าจวนตานี
ผ้าจวนตานี เป็นผ้าที่ยังไม่พบหลักฐานถิ่นกำเนิดที่ชัดเจน
จึงไม่มีใครสามารถบอกความเป็นมาได้แน่ชัด มีเพียงชื่อ
ที่ปรากฏอยู่ตามเอกสารต่างๆ นายพิชัย แก้วขาวผู้รู้
ท่านหนึ่งของจังหวัดปัตตานีที่ได้ทำการสืบร่องรอยของ
ผ้าจวนตานี ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งว่า จากหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ จากการที่เมืองปัตตานีเป็นเมืองท่า
สำคัญและเป็นตลาดกลางในการซื้อขายและส่งถ่าย
สินค้าจากต่างแดน เมืองท่าปัตตานีในยุคนั้นจึง
พลุกพล่านไปด้วยนักเดินเรือ อาจกล่าวได้ว่าเมือง
ท่าปัตตานีเป็นตลาดกลางของการซื้อขายสินค้าประเภท
ผ้าไหมแพรพรรณและผ้าจากต่างแดนชนิดต่างๆ
นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งจำหน่ายวัตถุดิบสำหรับ
ใช้ในการทอผ้าอันได้แก่ ฝ้ายและไหมดิบแหล่งใหญ
่อีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ ผ้าจวนตานี ที่มา : สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา