Page 11 - ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี
P. 11

ลักษณะความโดดเด่นของผ้าจวนตานี

                     ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าจวนตานี คือ มีสีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่
              ริมผ้า ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่าๆ เรียกล่องดังกล่าวว่า "จูวา" จูวา หมายถึงลวดลายที่
              ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนาน มีลักษณะเป็น

              ร่องริ้วเรียกว่า "ล่องจูวา" ลายจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามี
              หลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มผืนเรียกว่า "ผ้าลีมา" เป็นผ้าชั้นสูง ต้องใช้ความ

              ประณีต มีราคาแพงสำหรับกรณีที่เอาลายจูวาไปทำเป็นลายผ้าที่ตำแหน่งสะโพก (ปาต๊ะ)
              เรียกว่า "ปาต๊ะจูวา" หากเป็นโสร่ง เรียกว่า "ผ้าโสร่งปาต๊ะจูวา" ผ้าโบราณที่พบในปัตตานี
              พบว่า ผ้าโบราณมีหลากหลายแบบทั้งกรรมวิธีการทอ เทคนิคพิเศษหรือวิธีการผลิตลวดลาย

              และวัสดุหรือเส้นใยที่นำมาใช้ ซึ่งผ้าจวนตานี มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้






































                                         ลักษณะของผ้าโสร่งที่นำเอาลาย “ล่องจูวา” มาทำเป็นลวดลายที่
                                           ปาต๊ะ (ตำแหน่งสะโพก) ผ้าโสร่งลักษณะนี้จึงเรียกกันว่า
                                               “ผ้าโสร่งปาต๊ะจูวา” หรือ “ผ้าโสร่งปาต๊ะจวน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16